วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

องค์การ NASA ออกโรงชี้แจง 2012 วันโลกาวินาศหลักฐานข้อเท็จ ข้อจริงเป็นอย่างไร





วันโลกแตก .. วันโลกาวินาศ คำนี้ พวกเราคงได้ยินถี่ขึ้น
ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา เราจะอ่านพบข่าวภัยพิบัตินานัปการ
ตั้งแต่น้ำท่วม ดินถล่ม พายุ อากาศร้อนจัด หนาวจัด กระทั่งมาถึง แผ่นดินไหว
หลายคนรู้สึก ว่าแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตเกิดบ่อยครั้งขึ้น
ตั้งแต่แผ่นดินไหวในซื่อชวนของจีนซึ่งมีผู้เสียชีวิต 90,000 คน ต่อมา แผ่นดินไหวในไฮติซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 200,000 คน และ ล่าสุด แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น ซึ่งตามมาด้วยสึนามิ ทำให้มีผู้เสียชีวิต และ สูญหายไม่น้อยกว่า 20,000 คน
(โดยข้อเท็จจริง จำนวนครั้ง และขนาดของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ไม่ได้แตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญจากข้อมูลในอดีต)
แถมตามมาด้วย อากาศที่แปรปรวนอย่างหนักในประเทศไทย
ปลายมีนาคมจะเข้าเมษายนแล้ว เมืองไทยอากาศยังหนาวสั่น
ขณะที่ทางภาคใต้ของไทย กลับมีฝนตกหนักต่อเนื่อง จนน้ำท่วมอย่างที่ไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน
หรือว่า .. หรือว่า นี่จะเป็นการเริ่มต้นไปสู่ ..วันโลกาวินาศ
หลายคน คงเริ่มมีความสงสัย ความกังวลอยู่ในใจ
ว่า ภาพยนต์เรื่อง 2012 นั้น ดูท่าจะกลายเป็นเรื่องจริงเสียแล้ว


ข่าวเกี่ยวกับ วันสิ้นโลกในปี 2012 มีการกล่าวขวัญกันถึงในเวบไซต์ต่างๆมากมาย
แม้ในฟอร์เวิร์ดเมล์ ก็จะมีการส่งเรื่องราว กล่าวเตือนถึง “วันมรณะ” นี้ไปทั่ว
ผมเอง มีประสบการณ์เกี่ยวกับข่าวลือทำนองนี้มามากมาย
ดังนั้น จึงเลือกที่จะตรวจสอบ ที่ไปที่มา เพื่อหาความเห็น หรือข่าวสารอื่นๆ ให้ครบถ้วน รอบด้าน
ผมพบว่า ในเวบไซต์ต่างๆ มีการนำเรื่องราว 2012 วันสิ้นโลก ไปกล่าววิพากษ์วิจารณ์ไว้มากมายว่าเป็นเรื่องที่กุขึ้นมา หาข้อเท็จจริงไม่ได้
แม้ในเวบไซต์ของ NASA (องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ) อันเป็นหน่วยงานรัฐ ของสหรัฐฯ ก็เปิดพื้นที่ เพื่อชี้แจงให้ประชาชนอเมริกา และ ทั่วโลก ทราบว่า ข่าวลือดังกล่าว ปราศจาก

พื้นฐานความจริงใดๆทั้งสิ้น
วันนี้ ผมขอถอดความบางส่วนจากเวบของนาซาดังกล่าว มาเผยแพร่ เพื่อช่วยกันบรรเทาความแตกตื่นต่อ 2012 วันสิ้นโลกนี้ลงไปได้บ้าง

๐๐๐๐๐๐๐๐๐
คำถาม มีภัยคุกคามใดๆต่อโลกมนุษย์ในปี 2012 หรือไม่ ? เวบไซต์ในอินเตอร์เนตจำนวนมากระบุว่า โลกจะถึงการอวสานต์ ในเดือนธันวาคม 2012

คำตอบ ไม่มีอะไรร้ายแรงจะเกิดขึ้นกับโลกมนุษย์ในปี 2012 ดาวพระเคราะห์ซึ่งพวกเราอาศัยอยู่กันนี้ อยู่มาด้วยดีเป็นเวลากว่าสี่พันล้านปี และนักวิทยาศาสตร์ซึ่งทรงความน่าเขื่อถือทั้งหลายในโลก ไม่พบเหตุของความคุกคามใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับปี 2012 นี้แต่อย่างใด

คำถาม อะไรเป็นจุดเริ่มต้นของคำพยากรณ์ว่าโลกจะสิ้นสุดในสิ้นปีของปี 2012

คำตอบ เรื่องมันเริ่มต้นด้วยการกล่าวอ้างว่า ดาวนิบิรุ (Nibiru)  ซึ่งเป็นดวงดาวที่กล่าวกันว่า 

ชาวสุเรเมียน(Suremians) เป็นผู้ค้นพบกำลังพุ่งเข้าหาโลก ในเบื้องต้น คำพยากรณ์กล่าวว่า 
ความหายนะจะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2003 แต่เนื่องจากไม่เกิดอะไรขึ้นในวันนั้น วันโลกาวินาศ
จึงถูกเลื่อนไปเป็นเดือนธันวาคม 2012  หลังจากนั้นจึงมีการนำนิทานทั้งสองเรื่องมาเชื่อมโยงเข้ากับจุดจบของวงวัฎจักรในปฎิทินโบราณของมายัน และนำมาสู่คำพยากรณ์ว่าวันโลกาวินาศคือ วันที่ 21 ธันวาคม 2012

คำถาม จริงหรือที่ว่าปฎิทินของมายันสิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2012

คำตอบ ปฏิทินของพวกเราที่แปะอยู่ในห้องครัว ไม่ได้สิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม ปฏิทินของมายันก็ไม่ได้จบสิ้นในวันที่ 21 ธันวาคม 2012 เช่นเดียวกัน วันที่ 21 ธันวาคมดังกล่าว เป็นวันสุดท้ายของรอบวงปฏิทินของมายัน ดังนั้น เมื่อปฏิทินของพวกเรา เริ่มใหม่อีกครั้งในวันที่ 1 มกราคม ปฏิทินมายัน ก็เริ่มต้นนับใหม่ ภายหลัง 21 ธันวาคม           

คำถาม มีดาวที่ชื่อว่านิบิรุ หรือ ดาว X หรืออีริส (Eris)ที่กำลังพุ่งเข้าหาโลก และ คุกคามที่จะทำลายดาวเคราะห์ซึ่งพวกเราอาศัยอยู่นี้หรือไม่

คำตอบ นิบิรุ และเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับดาวเคราะห์ที่พุ่งเข้าหาโลก เป็นเรื่องซึ่งกุขึ้นมาในอินเตอร์เนต ไม่มีพื้นฐานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำกล่าวอ้างเหล่านี้เลย หากคำอ้างที่ว่านิบิรุ หรือ ดาว X กำลังมุ่งหน้าที่จะพุ่งชนโลกในปี 2012 เป็นจริง นักดาราศาสตร์คงจะทำการติดตามดาวดวงนี้มาอย่างน้อยเป็นสิบปีมาแล้ว และ หากเรื่องนี้เป็นจริง วันนี้ เราย่อมสามารถมองเห็นดาวดังกล่าวด้วยตาเปล่าในวันนี้แล้ว ความเป็นจริงก็คือ มันไม่มีดาวดังกล่าว สำหรับ Eris นั้นเป็นเรื่องจริง แต่ดาวดวงนี้เป็นดาวดวงเล็กขนาดเท่าดาวพลูโต และดาวดวงนี้จะอยู่ในวงโคจรรอบนอกของระบบสุริยะ ระยะใกล้ที่สุดซึ่งดาวดวงนี้จะเข้ามาใกล้ ก็คือประมาณ สี่พันล้านไมล์

คำถาม เป็นความจริงหรือไม่ ที่ว่ามีอันตรายที่โลกจะถูกพุ่งชนจากอุกาบาตในปี 2012

คำตอบ โลกมีโอกาสถูกพุ่งชนจากดาวหางหรืออุกาบาตตลอดเวลา แต่การพุ่งชนซึ่งมีความรุนแรงมีน้อยมาก การพุ่งชนที่มีผลกระทบใหญ่เกิดขึ้นเมื่อ 65 ล้านปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไป ปัจจุบันนี้ นาซาได้ดำเนินการสำรวจที่เรียกว่า การสำรวจเพื่อปกป้องอวกาศ เพื่อมองหาอุกาบาตขนาดใหญ่ซึ่งอยุ่ใกล้โลก เป็นเวลานานก่อนที่มันจะพุ่งถึงโลก ผลการศึกษา นาซาสรุปว่ายังไม่พบอุกาบาตขนาดใหญ่เช่นที่เคยทำลายไดโนเสาร์มาก่อน งานการสำรวจนี้ ทำกันอย่างเปิดเผย และมีการนำขึ้นเวบทุกวันที่ NEO Program Office website ซึ่งทุกคนสามารถเข้าไปดูได้

คำถาม นักวิทยาศาสตร์นาซา รู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการกล่าวอ้างถึง วันโลกาวินาศซึ่งจะมาถึง

คำตอบ คำกล่าวอ้างเกี่ยวกับภัยพิบัติหรือการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันในปี 2012 นั้น มันมีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์อย่างไร หลักฐานบ่งชี้อยู่ที่ไหน เราไม่พบเห็นอะไรเหล่านั้นเลย
สำหรับการนำเสนอต่างๆ ทั้งในรูปหนังสือ ภาพยนต์ สารคดี หรือในอินเตอร์เนต ต่างๆนั้น ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงได้ ไม่มีหลักฐานที่พอเชื่อถือใดเลย สำหรับการยืนยันว่าจะเกิดเหตุการณืผิดปรกติขึ้นในเดือนธันวาคม 2012

คำถาม มีอันตรายใดๆที่จะเกิดจากพายุสุริยะขนาดใหญ่ ที่คาดว่าจะมีในปี 2012

คำตอบ การปรับเปลี่ยนของพายุสุริยะเกิดเป็นวัฎจักร ซึ่งจะขึ้นถึงจุดสุดยอดทุก 11 ปี เมื่อใกล้ถึงจุดสุดยอดนี้ การปะทุในดวงอาทิตย์อาจทำให้ระบบสื่อสารดาวเทียมได้รับผลกระทบ แม้ในปัจจุบันวิศวกรกำลังเรียนรู้ที่จะพัฒนาระบบอิเล็กตรอนิกส์ที่สามารถทำงานได้ภายใต้พายุสุริยะใดๆก็ได้ แต่ไม่มีความเสี่ยงพิเศษใดๆในปี 2012 จุดสุดยอดของการเปลี่ยนแปลงครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นประมาณปี 2012-2014 และก็เป็นที่คาดว่าจะเป็นวงวัฎจักรสุริยะตามปรกติ ไม่มีความแตกต่างใดจากวัฎจักรซึ่งเคยเกิดมาในประวัติศาสตร์

๐๐๐๐๐๐๐๐๐

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รูปแบบของระบบฐานข้อมูล


รูปแบบของระบบฐานข้อมูล   มีอยู่ด้วยกัน  3  ประเภทคือ
            1.  ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์  (RELATIONAL   DATABASE)  เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง  (Table)  หรือเรียกว่า  รีเลชั่น (RELATION)  มีลักษณะเป็น  2   มิติ คือเป็นแถวและเป็นคอลัมน์  การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตารางจะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์  (ATTRIBUTE)  หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล  เช่น
           
2.  ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย  (NETWORK  DATABASE)  ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย  จะเป็นการรวมระเบียนต่าง  ๆ  และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์   คือ  ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้  โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กัน   จะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ในแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกันแต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย  จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน  โดยแสดงไว้ในโครงสร้าง   เช่น  
            3.  ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น  (HIERARCHICAL  DATABASE)  ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น  เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบ  พ่อ – ลูก  หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้  TREE  ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้  คือ  ระเบียน  Record   ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล Field  ของเอนทิตี้หนึ่ง  ๆ  นั่นเอง
           
 แผนผังโครงสร้างข้อมูล  
           

12 วิธีประหยัดไฟฟ้าอย่างชาญฉลาด


12 วิธีประหยัดไฟฟ้าอย่างชาญฉลาด

ในพื้นที่อากาศอบอุ่นและอากาศหนาว เครื่องทำความร้อนจะใช้พลังงานอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด  ดังนั้น สิ่งแรกและสำคัญที่สุดในมาตรการการประหยัดพลังงาน คือ การใช้วัสดุที่เหมาะสมในการทำฉนวนและการระบายอากาศ โดยสามารถลดการใช้เครื่องทำความร้อนได้ถึง 1 ใน 3  (ประมาณ 50 กิโลวัตต์ชั่วโมง/ตารางเมตร/ปี) หรือ 1 ใน 10 (น้อยกว่า 15 กิโลวัตต์ชั่วโมง /ตารางเมตร/ปี) ของพลังงานที่บ้านขนาดทั่วไปต้องใช้  เป็นที่น่าสังเกตว่า บ้านที่ใช้วัสดุทำฉนวนที่เหมาะสมจะใช้ความร้อนเพียง 1 ใน 3 เพื่อทำให้บ้านอุ่น และไม่ทำให้ค่าก่อสร้างแพงขึ้นเลย  การลงทุนเพิ่มกับวัสดุทำฉนวน การระบายอากาศ และการติดตั้งแผ่นกระจกที่มีประสิทธิภาพสูงนั้นสามารถชดเชยได้โดยเปลี่ยนระบบเครื่องทำความร้อนให้เล็กลงและถูกลง
  บ้านที่มีประสิทธิภาพจะทำให้
- ผู้อยู่อาศัยมีสุขภาวะดีและได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น
- หลีกเลี่ยง 'รังสีความเย็น' (เช่นที่มาทางหน้าต่าง)
- ทำให้ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างห้องที่ติดกับห้องที่ไม่ได้ติดเครื่องทำความร้อนมีน้อย
- ทำให้เครื่องทำความร้อนมีประสิทธิภาพในการระบายอากาศดีขึ้น
ในเขตอากาศร้อน เราสามารถลดหรือไม่ใช้เครื่องปรับอากาศหากสิ่งปลูกสร้างนั้นได้รับการออกแบบที่ดี ส่วนในเขตอากาศอบอุ่นเราสามารถงดใช้เครื่องปรับอากาศได้
เครื่องใช้ไฟฟ้า
การใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนทั่วโลกนั้นแตกต่างกันอย่างมหาศาลแม้แต่ในประเทศอุตสาหกรรม โดยในครัวเรือนขนาดทั่วไปของประเทศแถบยุโรปใช้พลังงาน 4,667 กิโลวัตต์ชั่วโมง ในขณะที่ครัวเรือนในสหรัฐอเมริกาใช้ 11,209 กิโลวัตต์ชั่วโมง และในประเทศญี่ปุ่นใช้ 5,945 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ครัวเรือนในสหรัฐอเมริกาใช้หลอดไฟมากกว่ายุโรปถึง 3 เท่า และใช้ตู้เย็นมากกว่ายุโรป 2 เท่า แต่นี่ไม่ได้สะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐและยุโรปมีความสะดวกสบายต่างกัน  เพราะมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งกินไฟน้อยกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น 2-10 เท่า ทั้งๆ ที่มีการทำงานเหมือนกัน และส่วนใหญ่มีคุณภาพดีกว่าด้วย  การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและประหยัดนั้น ทำให้ครัวเรือนขนาดทั่วไปใช้ไฟฟ้าลดลงถึง 1,300 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี โดยได้รับความสะดวกสบายเหมือนเดิม ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาเกือบ 10 เท่า
 
พยายามใช้ไฟฟ้าให้น้อยลง
การผลิตไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้พลังงานมาก พลังงานความร้อนส่วนใหญ่ได้มาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ก๊าซ หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ การใช้เครื่องทำน้ำอุ่นหรือเครื่องทำความร้อนนั้นเป็นสิ่งที่ไร้ประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง  เพราะก่อนที่ไฟฟ้าจะถูกส่งไปถึงบ้านของพวกเรานั้น พลังงานประมาณ 60 เปอร์เซนต์ในโรงไฟฟ้าจะหายไปในรูปของความร้อนสูญเปล่า และอีก 10 เปอร์เซนต์หายไปกับสายส่งไฟฟ้าและหม้อแปลง
1. ใช้หลอดไฟที่มีประสิทธิภาพ
เปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดไส้มาใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ (CFLs) แทน  หลอดฟลูออเรสเซนต์ใช้ไฟน้อยกว่าหลอดไส้ถึง 4 เท่า และใช้งานได้นานกว่า 8 เท่า (8,000 ชั่วโมงแทนที่จะได้แค่ 1,000 ชั่วโมง) ตัวอย่างเช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาด 18 วัตต์ จะใช้แทนหลอดไส้ขนาด 75 วัตต์ แบบเก่าได้ หลอดฟลูออเรสเซนต์จะมีราคาแพงกว่า แต่คุณจะเปลี่ยนหลอดใหม่น้อยกว่าถึง 8 เท่า และยังกินไฟน้อยกว่าด้วย ซึ่งนั่นทำให้มันเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานมากที่สุดในบ้าน  อย่างน้อยที่สุด ควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์แทนหลอดไส้ในโคมไฟทุกดวงที่ใช้งานวันละ 30 นาทีขึ้นไป
ถ้าเป็นหลอดตะเกียบจะยิ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบเดิม และใช้งานได้นานกว่า 10,000-20,000 ชั่วโมง เพียงแค่ใช้หลอดตะเกียบกับบัลลาสต์และสตาร์ตเตอร์แบบใหม่ที่ไม่ต้องรอกระพริบและไฟติดสว่างทันทีก็จะเพิ่มประสิทธิภาพได้อีก 20 เปอร์เซนต์  ส่วนอีกทางเลือกหนึ่งคือ หลอดฟลูออเรสเซนต์พร้อมขายึด  บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของขายึดจะมีอายุการใช้งานนานถึง 40,000 ชั่วโมง และสามารถแยกเปลี่ยนเฉพาะหลอดไฟได้ในราคาที่ต่ำกว่า  ทั้งหลอดฟลูออเรสเซนต์และหลอดตะเกียบจะหาได้ในขายึดแบบที่ปรับแสงสลัวได้  นี่เป็นสิ่งที่พิ่มทั้งความสะดวกสบาย ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น และยังยืดอายุการใช้งานของหลอดไฟได้อีกด้วย
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ควรหลีกเลี่ยงโคมไฟแบบฝังที่ใช้หลอดฮาโลเจน ซึ่งโดยปกติใช้พลังงานถึง 300 วัตต์หรือมากกว่านั้นเพื่อผลิตความร้อน
ปริมาณมาก และร้อนมากจริงๆ คือประมาณ 500 องศาเซลเซียส ซึ่งความร้อนขนาดนี้สามารถก่อให้เกิดการเผาไหม้ที่รุนแรงและเป็นชนวนให้เกิดไฟไหม้ได้  นอกจากนี้ ในช่วงวันที่อากาศร้อนในหน้าร้อนก็ยิ่งไม่ควรอยู่ใกล้หลอดฮาโลเจนเลย  ส่วนหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบฝังจะใช้พลังงานเพียงแค่ 50-80 วัตต์ ที่  40 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานได้มากและยังปลอดภัยต่อชีวิตของคุณด้วย
นอกจากนี้ คุณควรใส่ใจในเรื่องหลอดไฟประจำจุดต่างๆ  รู้จักเลือกใช้วัตถุสะท้อนแสงและหลอดไฟตามทางเพื่อให้แสงสว่างเฉพาะจุดที่คุณต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าไฟได้อีก 50 เปอร์เซนต์ และทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้นด้วย
การวางแผนที่ดีในการใช้หลอดไฟที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดความต้องการใช้ไฟฟ้าได้มากถึง 8 เท่า
เมื่อหลอดฟลูออเรสเซนต์หมดอายุการใช้งาน ควรหาวิธีกำจัดที่เหมาะสม เพื่อที่สารปรอทที่อยู่ข้างในจะสามารถนำไปรีไซเคิลได้ และถึงแม้ไม่ได้นำไปรีไซเคิล หลอดฟลูออเรสเซนต์ก็ยังเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะหลอดกินไฟและหลอดฮาโลเจนที่ไร้ประสิทธิภาพนั้นจะก่อให้เกิดหายนะทางสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรงมากได้ ทั้งนี้รวมถึงการปล่อยสารปรอทจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน (แต่ทางที่ดี ควรนำหลอดฟลูออเรสเซนต์ไปรีไซเคิล)
การเปลี่ยนไปใช้หลอดไฟที่มีประสิทธิภาพสูงยังทำให้อายุการใช้งานของหลอดไฟเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งมีผลดี คือ เพิ่มความสะดวกสบายและสุขภาวะที่ดี แต่ในอีกแง่หนึ่งมันทำให้สิ้นเปลืองไฟได้ อย่างเช่น การเปิดไฟทิ้งไว้ขณะที่เราไม่ได้ใช้ เช่น เวลาออกจากห้อง เพราะเราเข้าใจผิดว่า การเปิดๆ ปิดๆ หลอดฟลูออเรสเซนต์นั้นสิ้นเปลือง แต่โดยหลักทั่วไปแล้ว เราควรปิดไฟเสมอเมื่อออกจากห้องหรือบ้าน
2. เลือกเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ
เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพจะกินไฟน้อยกว่าเครื่องใช้ประเภทเดียวกันที่ด้อยประสิทธิภาพ 2 ถึง 10 เท่า และโดยมากยังมีคุณภาพดีกว่าและใช้งานได้นานกว่าอีกด้วย พูดง่ายๆ คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้คุณประหยัดทั้งไฟและเงินได้มาก
ในหลายประเทศมีกฎข้อบังคับที่ต้องติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพไว้ในเครื่องใช้แทบทุกประเภท ในยุโรป รูปแบบฉลาก A++ หมายถึงประสิทธิภาพที่ดีที่สุด รองลงไปก็คือ A+, A, B, D ซึ่งหมายถึงประสิทธิภาพที่ลดหลั่นลงไปตามลำดับ ในสหรัฐอเมริกา มีการใช้สัญลักษณ์ดาวในฉลากพลังงาน และสำหรับประเทศไทยใช้ตัวเลข 1, 2, 3, 4, 5 เพื่อบอกถึงประสิทธิภาพการประหยัดไฟ ฉลากเบอร์ 5 หมายถึง ประหยัดไฟได้มากที่สุด
3. ตู้เย็น
ควรซื้อตู้เย็นที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งกินไฟประมาณ 100 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกาถึง 10 เท่า และน้อยกว่าค่าเฉลี่ยในยุโรป 4 เท่า
ข้อควรสังเกต คือ การใช้พลังงานของตู้เย็นรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดโดยมากไม่เกี่ยวข้องกับขนาดของตู้เย็น ทุกวันนี้ตู้เย็นขนาด 400 ลิตร ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในท้องตลาดกินไฟเพียง 106 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปีเท่านั้น
ตู้เย็นประสิทธิภาพสูงจะมีราคาแพงกว่าตู้เย็นทั่วไปประมาณ 5-15 เปอร์เซ็นต์ แต่จะช่วยคุณประหยัดได้มากทั้งเงินและการใช้ไฟ และมีอายุการใช้งานนานกว่า ไม่ต้องซ่อมบ่อย และเครื่องไม่ส่งเสียงดังด้วย
ควรหลีกเลี่ยงตู้เย็นที่มีช่องแช่แข็งในตัวหากคุณมีตู้แช่แข็งต่างหากอยู่แล้ว ตู้เย็นรุ่นที่มีช่องแช่แข็งในตัวมีประสิทธิภาพด้อยกว่าและทำให้พื้นที่ทำความเย็นลดลงอีกด้วย
4.  ตู้แช่แข็ง
สำหรับผู้บริโภคทั่วไป การซื้อตู้เย็น 2 ประตู ที่มีส่วนทำความเย็นและช่องแช่แข็งแยกประตูกันจะดีกว่าซื้อตู้เย็น 1 เครื่อง และตู้แช่แข็งอีก 1 เครื่อง
สำหรับตู้เย็นแบบที่มีช่องแช่แข็งในตัวนั้น ช่องแช่แข็งที่อยู่ด้านบนหรือด้านล่างของตู้เย็นจะดีกว่าแบบที่ประตูอยู่ข้างกัน และแน่นอนว่าในการเลือกซื้อตู้เย็น
คุณควรจะเปรียบเทียบอัตราการใช้ไฟเสมอ โดยสังเกตที่ฉลากประหยัดไฟ และมองหาตู้เย็นที่มีเทคโนโลยี Greenfreeze
ตู้เย็น 2 ประตูที่มีช่องแช่แข็งในตัวซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศนี้กินไฟเพียงแค่ 137 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี
ตู้แช่แข็งรุ่นที่ดึงประตูเปิดออกข้างจะมีประสิทธิภาพดีกว่ารุ่นที่เปิดประตูขึ้นข้างบน สำหรับตู้แช่แข็งจะไม่เหมือนตู้เย็นตรงที่ขนาดของมันมีผลต่อการใช้ไฟ
ตู้แช่แข็งเครื่องใหญ่จะกินไฟมากกว่า ดังนั้นอย่าซื้อตู้แช่แข็งที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น โดยเฉพาะหากคุณอาศัยอยู่ใกล้ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้า
ตู้แช่แข็งรุ่นที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในท้องตลาด ขนาดความจุ 300 ลิตร จะกินไฟเพียง 180 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี และขนาดใหญ่ 450 ลิตร กินไฟ 240 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ส่วนตู้แช่แข็งแบบประตูเปิดขึ้นข้างบน รุ่นที่มีคุณภาพจะกินไฟตั้งแต่ 170 กิโลวัตต์ชั่วโมง สำหรับรุ่นความจุ 190 ลิตร จนถึง 220 กิโลวัตต์ชั่วโมง สำหรับรุ่นความจุ 310 ลิตร
5.  เครื่องซักผ้า
-  ควรซื้อเครื่องซักผ้าที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่า 0.9 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อรอบการซัก
-  พิจารณาเครื่องซักผ้ารุ่นที่มีระบบ 'เติมน้ำร้อน' ซึ่งต่อตรงกับเครื่องทำน้ำร้อนชนิดใช้แก๊สที่มีประสิทธิภาพ เพราะการใช้แก๊สทำน้ำร้อนใช้ไฟเกือบครึ่งหนึ่ง ส่วนการติดตั้งอุปกรณ์เติมน้ำร้อนต้องทำตามคำแนะนำอย่างถูกวิธี
-  ตรวจสอบจากฉลากพลังงาน  ในยุโรป ฉลาก A+/A/A จะรับประกันประสิทธิภาพพลังงานที่ดีที่สุด และให้ผลการซักและการปั่นหมาดดีที่สุด
-  หากใช้เครื่องอบผ้า ต้องแน่ใจว่าเครื่องซักผ้าของคุณมีความเร็วรอบในการปั่นที่ 1,600-1,800 รอบต่อนาที
-  เครื่องซักผ้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจะประหยัดน้ำได้มากขึ้นเป็นสองเท่า คือ 1,500 ลิตรต่อปี
6. เครื่องอบผ้า
เครื่องอบผ้ารุ่นเก่าต้องใช้กำลังไฟแรงมาก จึงมีชื่อเรียกว่ารุ่น Condensation เป็นรุ่นที่ไม่มีท่อระบาย ซึ่งจะยิ่งใช้ไฟมากขึ้นไปอีก
การตากผ้ากลางแจ้งจะช่วยประหยัดไฟได้ถึง 3-4 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อรอบการซัก
หากคุณไม่สามารถตากผ้าบนราวตากผ้าได้ ก่อนอื่นคุณต้องแน่ใจว่าเครื่องซักผ้าของคุณมีรอบการปั่นอยู่ที่ 1,600 หรือถึง 1,800 รอบต่อนาที ซึ่งนี่ใช้พลังงานเกือบครึ่งหนึ่งของการตากผ้า การปั่นแห้งใช้ไฟน้อยกว่าการอบผ้าด้วยความร้อนถึง 20 เท่า
เทคโนโลยีในการอบผ้ามีอยู่ 2 ประเภทที่ใช้พลังงานน้อยมาก นั่นคือ เครื่องอบผ้าแบบใช้แก๊ส และเครื่องอบผ้าแบบใช้ปั๊มความร้อนไฟฟ้า เครื่องอบผ้าแบบใช้แก๊สเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการใช้งานที่หนักมาก โดยใช้ไฟน้อยลง 60 เปอร์เซนต์ (รวมแก๊ส) และทำให้ผ้าแห้งเร็วขึ้น 40 เปอร์เซนต์  ส่วนเครื่องอบผ้าแบบใช้ปั๊มความร้อนจะใช้ไฟฟ้าเพียงครึ่งหนึ่งของเครื่องอบผ้ารุ่นเก่า แต่ราคาค่อนข้างแพงกว่า
7. เครื่องล้างจาน
เครื่องล้างจานที่มีประสิทธิภาพจะกินไฟไม่เกิน 1 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อรอบการล้าง เปรียบเทียบกับรุ่นทั่วไปโดยเฉลี่ยซึ่งกินไฟ 1.4 กิโลวัตต์ชั่วโมง
เครื่องล้างจานรุ่นที่มีระบบ 'เติมน้ำร้อน' ซึ่งต่อตรงกับเครื่องทำน้ำร้อนชนิดใช้แก๊สที่มีประสิทธิภาพ  ในกรณีนี้ แก๊สเป็นตัวทำให้น้ำร้อนแทนการใช้ไฟฟ้า ดังนั้นจะทำให้ประหยัดไฟลงได้ 50 เปอร์เซนต์ หรืออาจจะมากถึง 90 เปอร์เซนต์ สำหรับเครื่องล้างจานรุ่นยอดนิยม นี่เป็นเพราะว่าแก๊สมีประสิทธิภาพเกือบสองเท่าของไฟฟ้าในการทำให้น้ำร้อน ข้อควรจำคือ การติดตั้งอุปกรณ์เติมน้ำร้อนต้องทำตามคำแนะนำอย่างถูกวิธี
8. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เทคโนโลยี
-    คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คกินไฟน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 5 เท่า
-    หากคุณซื้อคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ควรเลือกจอ LCD แทนที่จะเป็นจอ CRT ที่ตกรุ่นไปแล้ว
-    คอมพิวเตอร์ของคุณควรมีระบบจัดการพลังงาน การพักหน้าจอไม่ได้ช่วยประหยัดพลังงาน
-    ตรวจสอบดูว่าคอมพิวเตอร์ของคุณรองรับระบบจัดการพลังงานแบบ Speedstep รุ่นใหม่ๆ หรือไม่
-    การปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์จะช่วยยืดอายุการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้นานขึ้น การปล่อยให้คอมพิวเตอร์เปิดใช้
     งานตลอดทั้งปีจะเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 1,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี หรือเกือบจะเท่ากับปริมาณการใช้ไฟ
     ทั้งหมดของบ้านที่มีประสิทธิภาพทางพลังงานสูง
-    ควรใช้แผงพลังงานแผงเดียวสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ บรอดแบนด์โมเด็ม สแกนเนอร์ พรินท์เตอร์
     มอนิเตอร์ และลำโพง และเมื่อไม่ใช้เครื่องควรปิดสวิตช์ ซึ่งจะกินไฟน้อยกว่าการเปิดเครื่องไว้ในโหมดแสตนบาย 200 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปีหรือมากกว่านั้น
-    ลดการสั่งพิมพ์เอกสารให้น้อยลง  เลเซอร์พรินท์เตอร์ใช้ไฟมากกว่าอิงค์เจ็ทพรินเตอร์
9. ตัดการสูญเสียจากการ standby (ตัวดูดพลังงานที่ร้ายแรง)
เครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ กินไฟแม้ขณะที่เราปิดเครื่อง สำหรับ ทีวี เครื่องเล่นและบันทึกวิดีโอ เครื่องรับส่งเอกสาร เครื่องเสียงระบบไฮไฟ จอคอมพิวเตอร์ กล่องเคเบิล และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทางสายโทรศัพท์ เหล่านี้มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 40-120 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี รวมความสูญเสียในครัวเรือนทั้งสิ้นอาจมากถึงหลายร้อยกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ทั้งหมดนี้นับเป็นความสูญเปล่าโดยไม่เกิดประโยชน์อันใด
ทางออกที่ดีที่สุด คือ ซื้อเครื่องใช้ที่กินไฟในการใช้พลังงานสำรองต่ำมากๆ   การใช้พลังงานสำรองมีบอกไว้ในคู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์และสามารถตรวจสอบได้ก่อนซื้อ  สำหรับเครื่องใช้ส่วนมากควรจะอยู่ที่ราวๆ 0.5-1 วัตต์ต่อชั่วโมง หรือ 4-8 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี จำไว้เสมอว่าค่าใช้จ่ายของพลังงานที่เสียไปในโหมด stand by ตลอดอายุการใช้งานอาจจะสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องใช้เหล่านี้ก็ได้
ปลั๊กเสียบพ่วงเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดในการลดการสูญเสียพลังงานในโหมด stand by เพราะปิดสวิตช์เพียงครั้งเดียวสามารถปิดการทำงานของเครื่อง
ใช้ไฟฟ้าได้พร้อมกันหลายเครื่อง และใช้เงินลงทุนเพียงร้อยกว่าบาท แต่ประหยัดไฟได้มากกว่า 100 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี
ในปี 2000 ประเทศในสหภาพยุโรป 15 ประเทศ สูญเสียพลังงานจากการ stand by อุปกรณ์ไฟฟ้าในครัวเรือนรวมทั้งสิ้นประมาณ 94 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง หรือมีค่าเท่ากับโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ 12 โรง  การเติบโตอย่างรวดเร็วของ ICT และ อุปกรณ์ multimedia ที่ไร้ประสิทธิภาพ  อาจทำให้ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในอีก 10 ปี
10.   อย่าใช้เครื่องต้มน้ำไฟฟ้าหรือเครื่องทำน้ำร้อน สำหรับน้ำร้อน
       ( "Heat the water, not the sky !" ) ต้มน้ำให้ร้อน ไม่ใช่ต้มฟ้าให้ร้อน
เครื่องต้มน้ำไฟฟ้ากินไฟประมาณ 3,200 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี (ค่าเฉลี่ยในประเทศอุตสาหกรรม) เท่ากับพลังงานที่คน 3 คนในบ้านใช้รวมกัน แต่การผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าถ่านหิน แก๊ส หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ไร้ประสิทธิภาพอย่างยิ่ง และจากนั้นก็ส่งต่อพลังงานไฟฟ้าผ่านสายส่งไปยังบ้านเรือนคิดเป็นความร้อน 9,600 กิโลวัตต์ชั่วโมง พลังงานไฟฟ้าที่สูญเปล่าประมาณ 2 ใน 3 ของพลังงานโดยคร่าวๆ นั้นหายไปตั้งแต่ก่อนถึงบ้านคุณ ดังนั้นการใช้แก๊สหรือน้ำมันโดยตรงเพื่อต้มน้ำร้อนจะช่วยลดการใช้พลังงานไปได้ 3,800 กิโลวัตต์ชั่วโมง
ในเขตภูมิอากาศอบอุ่น เครื่องต้มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สามารถลดตัวเลขนั้นลงได้ครึ่งหนึ่ง เป็น 1,900 กิโลวัตต์ชั่วโมงในสภาพภูมิอากาศร้อนปานกลาง (และยิ่งลดลงอีกในเขตภูมิอากาศร้อน) นั่นคือสามารถประหยัดพลังงานได้ทั้งสิ้นประมาณ 5 เท่าของพลังงานที่ใช้ในเครื่องต้มน้ำไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม อย่าใช้เครื่องต้มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับเครื่องทำความร้อนไฟฟ้า เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงกว่าการใช้แก๊สต้มน้ำเพียงอย่างเดียว ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของเครื่องต้มน้ำไฟฟ้านั้นมากกว่าเงินที่ประหยัดได้เพิ่มขึ้นจากการใช้เครื่องต้มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์มาก
11. ใช้ฝักบัวอาบน้ำ
ฝักบัวประหยัดน้ำให้ความสะดวกสบายมาก และใช้น้ำเพียงแค่ครึ่งเดียว คือเท่ากับ 5-7 ลิตรต่อนาที แทนที่จะต้องเสียน้ำถึง 10-18 ลิตรต่อนาที
น้ำร้อนใช้พลังงานมากเป็นอันดับสองของพลังงานที่ใช้ในครัวเรือน รองจากเครื่องทำความร้อน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ การใช้ฝักบัวอาบน้ำที่มีประสิทธิภาพจะสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ถึง 1,500 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี หากมีการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นด้วย หรือประหยัดความร้อนได้ 1,900 กิโลวัตต์ชั่วโมง ถ้าใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊สหรือระบบใช้น้ำมัน  ทั้งหมดนี้คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นจากราคาของฝักบัวอาบน้ำเพียงไม่กี่ดอลลาร์หรือไม่กี่ยูโรเท่านั้น  ตลอดอายุการใช้งาน 10 ปี ฝักบัวจะช่วยประหยัดน้ำได้ถึง 70,000 ลิตรทีเดียว
การใช้ฝักบัวประหยัดน้ำร่วมกับเครื่องทำน้ำอุ่นระบบพลังงานแสงอาทิตย์จะช่วยลดความต้องการใช้พลังงานลงเหลือเพียง 950 กิโลวัตต์ชั่วโมง หรือน้อยกว่าเมื่อใช้เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าร่วมกับฝักบัวอาบน้ำแบบเดิมๆ เกือบ 10 เท่า
12. อย่าใช้เครื่องทำความร้อนไฟฟ้า
เหตุผลเดียวกับเครื่องต้มน้ำไฟฟ้า  แทนที่จะใช้เครื่องทำความร้อนไฟฟ้า เราควรใช้วัสดุที่ทำเป็นฉนวนกันความร้อนเพิ่ม และจะดีที่สุดถ้าทำให้บ้านคุณอุ่นขึ้นด้วยการใช้พลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ อย่างเช่นเครื่องทำความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม เครื่องทำความร้อนระบบแก๊สก็ยังคงดีกว่าระบบไฟฟ้าอยู่มาก

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ละติจูด ลองจิจูด


ละติจูด คืออะไร 

ละติจูด คือมุมที่วัดระหว่างจุดใด ๆ กับเส้นศูนย์สูตร มีค่าสูงสุด 90 องศา เส้นที่ลากต่อเชื่อมทุกจุด
ที่มีละติจูดเท่ากันเราเรียกว่า เส้นขนาน (parallel) เวียนเป็นวงกลมรอบโลก โดยขั้วโลกแต่ละขั้ว
จะมีค่าละติจูดเป็น 90 องศา เช่น ขั้วโลกเหนือมีละติจูด 90 องศาเหนือ เป็นต้น 

ละติจูด (อังกฤษ: Latitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นรุ้ง แทนด้วยอักษรกรีก φ เป็นพิกัดที่ใช้บอก
ตำแหน่งบนพื้นโลกและแบ่งเขตสภาวะอากาศโดยวัดจากเส้น ศูนย์สูตร พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ 
ลองจิจูด พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีสภาพภูมิอากาศ (Climate) และกาลอากาศ (Weather)
ต่างกัน ละติจูดมีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก 
(นับเป็น 90 องศาเหนือหรือใต้) เนื่องจากเป็นการวัดมุมจากจุดสมมติที่เส้นศูนย์สูตรไปยังจุดขั้วโล
ที่ 90 องศา

ละติจูด

ละติจูด

  1. เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพที่เกิดจากการสมมติใช้พื้นราบตัดพิภพโดยให้พื้น ราบนั้นตั้งได้ฉากกับแกนหมุนของพิภพเสมอ เส้นรอยตัดดังกล่าวนั้นคือเส้นละติจูด นิยมเรียกสั้นๆ ว่า “ เส้นขนาน”
  2. ละติจูดศูนย์องศา คือ เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพ ที่เกิดจากพื้นราบที่ตั้งได้ฉากกับแกนหมุนตัดผ่านจุดศูนย์กลางของพิภพ เส้นรอยตัดเส้นนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เส้นศูนย์สูตร” (Equator) ซึ่งเป็นวงขนานละติจูดวงใหญ่ที่สุด
  3. ค่าละติจูดของวงละติจูดใด คือ ค่ามุมที่จุดศูนย์กลางของพิภพนับไปตามพื้นราบที่บรรจุแกนหมุนของพิภพ เริ่มจากพื้นศูนย์สูตรถึงแนวเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางพิภพไปยังวงละติจู ตนั้น
  4. จุดขั้วเหนือของพิภพมีค่าละติจูดเท่ากับ 90 องศาเหนือ และที่จุดขั้วใต้ของพิภพมีค่าละติจูดเท่ากับ 90 องศาใต้
  5. เนื่องจากพื้นของวงละติจูดศูนย์องศา หรือพื้นศูนย์สูตร เป็นพื้นที่ตัดผ่านจุดศูนย์กลางของพิภพ วงศูนย์สูตรจึงถูกเรียกว่า “วงกลมใหญ่” ส่วนละติจูดอื่นๆ เป็นวงกลมเล็ก วงละติจูตจะมีขนาดเล็กลงๆ เมื่อห่างวงศูนย์สูตรออกไปจนกระทั่งกลายเป็นจุดที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลก ใต้
  6. ระยะห่างระหว่างเส้นละติจูด 1 องศา คิดเป็นระยะทางบนผิวพิภพประมาณ 111 กิโลเมตร (69 ไมล์) และ 1 พิลิปดา มีระยะห่างประมาณ 30.48 เมตร (100 ฟุต)
ลองจิจูด
ลองจิจูด
ลองจิจูด คือมุมที่วัดระหว่างจุดใด ๆ กับเส้นเมอริเดียนที่ศูนย์ มีค่าสูงสุด 180 องศา ซึ่งพาดผ่านหอดูดาวหลวงกรีนิช 
สหราชอาณาจักร เส้นที่ลากต่อเชื่อมทุกจุดที่มีลองจิจูดเท่ากันจะเรียกว่า เส้นเมริเดียน (meridian)

ลองจิจูด (Longitude) เป็นระยะทางเชิงมุมระหว่างเมริเดียนกรีนิช กับเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจซึ่งวัดไปตามขอบของเส้นศูนย์สูตร หรือขอบของเส้นขนานละติจูด หรือเป็นมุมแนวระดับที่แกนโลกในระหว่างพื้นของเมริเดียนกรนิชกับพื้นของเมริ เดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจ ตามปรกติวัดเป็น องศา ลิปดา และฟิลิปดา โดยนับ 0 (ศูนย์) องศาจากเมริเดียนกรนิชจนถึง 180 องศาไปทางตะวันออกหรือตะวันตกของ
เมริเดียนกรีนิช

ลองจิจูด

  1. เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพที่เกิดจากการสมมติใช้พื้นราบตัดพิภพ โดยให้พื้นราบผ่านแนวแกนหมุนของพิภพ เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพดังกล่าวเรียกว่า เส้นลองจิจูดหรือเส้นเมริเดียน ( Meridian)
  2. ลองจิจูดศูนย์องศา คือเส้นลองจิจูดที่ผ่านหอส่งดาว ณ เมืองกรีนิส (Greenwich) ในประเทศอังกฤษ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมริเดียนหลัก
  3.  ( Prime Meridian)
  4. การกำหนดค่าลองจิจูด คือค่าง่ามมุมที่จุดศูนย์กลางพิภพบนพื้นศูนย์สูตรโดยใช้แนวเส้นตรงที่ลากจาก จุดศูนย์กลางพิภพมายังเมริเดียนหลักเป็นแนวเริ่มนับค่าง่ามมุมไปทางตะวันออก 180 องศา เรียกว่า ลองจิจูดตะวันออก และนับค่าง่ามมุมไปทางตะวันตก 180 องศา เรียกว่า
  5. ลองจิจูดตะวันตก เส้นลองจิจูดที่ 180 องศาตะวันออกและตะวันตกเป็นเส้นเดียวกัน
  6. ลองจิจูดทุกเส้นเป็นส่วนโค้งของวงกลมใหญ่(Great Circle)
  7. ระยะห่างระหว่างเส้นลองจิจูด 1 องศา ตามเส้นศูนย์สูตร คิดเป็นระยะทางประมาณ 111 กิโลเมตร (69 ไมล์) และ 1 พิลิปดา มีระยะห่างประมาณ 30.48 เมตร (100 ฟุต) แต่เนื่องจากเส้นลองจิจูตทุกเส้นจะไปบรรจบกันที่จุดขั้วเหนือและขั้วใต้ของ พิภพ ดังนั้น ระยะห่างระหว่างเส้นลองจิจูดจึงน้อยลงๆ เมื่อยิ่งห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไป

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ระบบนิเวศแบบทะเลทราย


ระบบนิเวศแบบทะเลทราย

          
ทะเลทรายครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 18% ของพื้นที่โลก อยู่ในบริเวณเส้นรุ้ง ที่ 10 องศาเหนือและใต้ 
มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 10 นิ้วต่อปี มีอัตราการระเหยของน้ำสูงกว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา 5-7 เท่า 
อุณหภูมิในช่วงกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด บางส่วนของทะเลทรายจะถูกน้ำกัดเซาะ
เป็นแอ่งทำให้สามารถรองรับน้ำฝนไว้ให้สัตว์ทะเลทรายใช้ได้ ปัจจัยจำกัด ที่สำคัญของทะเลทรายคือ 
น้ำ ส่วนแร่ธาตุต่างๆ ในดิน ความเค็มและสารอินทรีย์บางชนิดอาจเป็นปัจจัยจำกัดได้บ้าง สภาพแวดล้อม
ไม่เหมาะกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต จึงพบจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิต จึงพบจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิต
ค่อนข้างน้อย สิ่งมีชีวิตในทะเลทรายจะต้องปรับตัวทางโครงสร้าง ทางสรีระและพฤติกรรมเพื่อให้
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างกันดาร 
          พืชในทะเลทรายมีการปรับตัวสองลักษณะ คือ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแห้งแล้งด้วยการเก็บน้ำไว้ในลำต้น 
หรือมีรากหยั่งลงลึกมาเพื่อหาน้ำใต้ดิน หรือลดรูปของใบให้มีขนาดเล็กลงและมีสารคล้ายขี้ผึ้งเคลือบผิวใบ
เพื่อลดการคายน้ำ การปรับตัวอีกลักษณะหนึ่งคือ การผลิตเมล็ดที่ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี ต่อเมื่อ
อุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมจึงจะงอก และเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากสร้างเมล็ดแล้วก็จะตายไป 
ลักษณะพืชในทะเลทรายมักเป็นพืชต้นเตี้ยติดดิน หรือเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสัตว์ทะเลทรายมีสองประเภทคือ 
พวกที่อยู่ในสภาพไข่ ดักแด้ หรือรูปอื่นที่ทนต่อสภาวะแห้งเล้งได้ยาวนานนับเดือนนับปี จนกว่าจะมีน้ำ
เพียงพอจึงจะเจริญอย่างรวดเร็ว บางชนิดจะเริ่มออกหากินเมื่อฝนตกหลังจากที่จำศีล(Aestivation)
 เป็นระยะเวลายาวนานตลอดช่วงเวลาที่แล้งจัดอีกประเภทหนึ่งเป็นพวกที่มีกิจกรรมตลอดช่วงที่มีชีวิตอยู่ 
สัตว์พวกนี้มีความสามารถสูงในการปรับตัวทางสรีระ ทำให้มีชีวิตรอดอยู่ได้ในสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
อย่างรุนแรงระหว่างกลางวันกับกลางคืน พื้นที่ทะเลทรายอาจเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ในอนาคต ทะเลทราย
มีแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์อย่างสม่ำเสมอในปริมาณมาก เทคโนโลยีสมัยใหม่อาจช่วยให้มนุษย์นำพลังงาน
ดังกล่าวจากทะเลทรายมาใช้ได้ แต่ต้องพิจารณาให้รอบคอบในแง่ของการลงทุน และผลตอบแทน

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Fusion : แหล่งพลังงานในอนาคต


ดวงอาทิตย์มีความสำคัญต่อชีวิตทุกชีวิตบนโลก เพราะมันให้ทั้งพลังงานแสงสว่าง และความอบอุ่นแก่
มนุษย์ พืชและสัตว์ มาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ แต่มนุษย์เราเพิ่งรู้ว่าดวงอาทิตย์ปลดปล่อยพลังงาน
อย่างไรเมื่อประมาณ17 ปีมานี้เอง จากการพบว่า อนุภาคต่างๆ เช่น โปรตอน นิวตรอน และอนุภาคอัลฟา
 ฯลฯ สามารถทำปฏิกิริยานิวเคลียร์กันได้ และปฏิกิริยานิวเคลียร์นี้เอง ที่เป็นต้นกำเนิดของพลังงาน
ในดวงอาทิตย์ เพราะปฏิกิริยานิวเคลียร์ให้พลังงานมากกว่ปฏิกิริยาเคมีราวล้านเท่า ทั้งนี้ เพราะ 
เวลาอนุภาคโปรตอนในดวงอาทิตย์รวมกัน จะทำให้เกิดอนุภาค deuteron 2H 
อนุภาค positron และอนุภาค neutrino และมีพลังงานปลดปล่อยออกมาด้วย แล้วอนุภาค deuteron 
ที่ได้ ก็จะหลอมรวมกับอนุภาคโปรตอน หรือ deuteron ตัวอื่น เป็นนิวเคลียสของธาตุ helium 
ส่วนอนุภาค neutrino เมื่ออุบัติแล้ว ก็แทบไม่ทำปฏิกิริยานิวเคลียร์กับอะตอมอื่นใดอีกเลย
 ดังนั้นมันจึงทะลุพุ่งออกมา จากแกนของดวงอาทิตย์มาสู่โลก ด้วยเหตุนี้การศึกษาอนุภาค neutrino
 ที่โลกได้รับ จึงทำให้นักฟิสิกส์ ล่วงรู้เหตุการณ์ที่เกิดบริเวณแกนกลางของดวงอาทิตย์ได้
และถึงแม้นักฟิสิกส์จะรู้ว่าบนดวงอาทิตย์ มีปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบ fusion ซึ่งเป็นปฏิกิริยา ที่ได้จาก
การหลอมรวมอะตอม ของธาตุเบา เช่น ไฮโดรเจน เป็นอะตอมของธาตุหนัก เช่น helium ก็ตาม 
แต่เขาก็ยังไม่สามารถสร้างปฏิกิริยานี้ ให้เกิดอย่างยั่งยืนในห้องทดลองบนโลกได้ เพราะในการ
ที่จะให้อนุภาคโปรตอน ที่มีประจุบวกเหมือนกันหลอมรวมกันได้ เขาต้องเร่งอนุภาคดังกล่าว 
ให้มีความเร็วเกือบเท่าแสง ต้องใช้ความดันมากมหาศาลประดุจความดันที่ใจกลางดวงอาทิตย์ 
ต้องใช้แสงเลเซอร์ความเข้มสูง และต้องใช้สนามแม่เหล็กที่มีความเข้มมหาศาล เพื่อเก็บกัก
อะตอมเหล่านี้ไม่ให้แตกกระจาย ทั้งนี้ก็เพื่อให้มันสามารถทำปฏิกิริยานิวเคลียร์
ได้อย่างต่อเนื่อง
การจำเป็นต้องใช้ปัจจัยซูเปอร์ไฮเทคหลายรูปแบบเช่นนี้ ทำให้เทคโนโลยีการผลิตพลังงานลักษณะนี้
จึงยังไม่มีในปัจจุบัน
ดังนั้น ในอดีตเมื่อ Stanley Pons และ Martin Fleischman แห่งมหาวิทยาลัย Utah และ Southampton
ได้ออกมาประกาศทางสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 23 มีนาคน พ.ศ. 2532 ว่า เขาทั้งสองพบวิธีสร้างปฏิกิริยา
 fusion ซึ่งจะให้พลังงานไม่รู้หมดโดยใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ ในห้องปฏิบัติการทดลองระดับมัธยม 
คนทั้งโลกจึงตกตะลึงเปรียบเสมือนกับการมีคนอ้างว่าได้พบวิธีการรักษามะเร็งโดยให้คนไข้กินเกลือ 
3 ช้อนชา ยังไงยังงั้น
เพราะ Pons และ Fleischman ได้อ้างว่า เวลาเขาใช้โลหะ palladium จุ่มในน้ำหนัก (heavy water) ซึ่งเป็น
น้ำที่ประกอบด้วยออกซิเจนกับ deuterium อันเป็นธาตุอีกรูปแบบหนึ่งของไฮโดรเจน ที่มีโปรตอนและ
นิวตรอนอย่างละตัวในนิวเคลียส เขาเห็นโลหะ palladium ดึงดูดอะตอมของ deuterium เข้าไปหลอม
รวมกัน และปลดปล่อยพลังงานออกมาเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นขณะที่ในห้องทดลองมีอุณหภูมิ
เพียง 30 องศาเซลเซียส เท่านั้นเอง
แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เร่งรัดทำการทดลองตรวจสอบความถูกต้องของการทดลองนี้
โดยใช้อุปกรณ์ลักษณะเดียวและขนาดเดียวกับที่ Pons และ Fleiscman ใช้ กลับไม่มีใครเห็นเหตุการณ์
ปลดปล่อยพลังงานเลย
เมื่อความจริงปรากฏออกมาว่า Pons และ Fleischman ลวงโลก ชื่อเสียงและศักดิ์ศรีของนักวิทยาศาสตร์
ทั้งสองจึงไม่มีอะไรเหลือ และ ณ วันนี้ก็ไม่มีใครสนใจว่าคนทั้งสองกำลังการทดลองเรื่องอะไร และ
 ณ ที่ใด
เหตุการณ์ fusion ที่อุณหภูมิต่ำหรือที่เรียกว่า cold fusion นี้ ได้ทำให้นักฟิสิกส์ปักใจเชื่อว่า กว่ามนุษย์จะมีพลังงา
รูปแบบนี้ใช้ คงต้องใช้เวลาจากวันนี้อีก 50 ปี
แต่เมื่อเดือนมีนาคมปีกลายนี้ วารสาร Science ซึ่งเป็นวารสารชั้นนำของโลกก็ได้เสนอรายงานการ
วิจัยว่ามีผู้พบวิธีทำ cold fusion อีก โดยใช้เทคนิคใหม่ที่ Rusi Taleyarkhan แห่ง 
Oak Ridge National Laboratoryในรัฐ Tennessee สหรัฐอเมริกา เรียกว่า acoustic cavitation 
โดย Taleyarkhan ได้สร้างฟองอากาศขึ้นในของเหลว
acetone แล้วใช้คลื่นเสียงพลังงานสูง อัดฟองอากาศให้ยุบตัวอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้อากาศ
ภายในฟองมีความดันสูงและฟองมีอุณหภูมิสูงมาก จนพลังงานเสียงที่ฟองได้รับถูกเปลี่ยนไปเป็น
พลังงานแสง จึงทำให้เขาสามารถเห็นแสงได้นี่คือปรากฏการณ์ sonolumine scence ที่นักฟิสิกส์
ได้รู้จักมานาน แต่สำหรับเหตุการณ์นี้ Taleyarkhanอ้างว่าเขาสามารถเห็นอนุภาคนิวตรอน 
และอนุภาค tririum (3H) หลุดออกมาด้วย
  • ความแตกต่างของ acetone ธรรมดา (CH3COCH3) กับ acetone ที่ Taleyarkhan ใช้คือ (CD3COCD3) ซึ่งมี
  •  deuterium แทน hydrogen อยู่ 6 อะตอม อนุภาคโปรตอนและนิวตรอน ที่เขาอ้างว่าเห็นนั้น เกิดจากปฏิกิริยา
    • 2D + 2D => 3T + proton
    • หรือ 2D + 2D => 3He + neutron
และในการทำฟองอากาศ Taleyarkhan ได้ใช้อนุภาคนิวตรอนพลังงานสูง ระดมยิง acetone
เมื่อโมเลกุลของ acetoneได้รับพลังงาน มันจะมีอุณหภูมิสูงและระเหยเป็นไอ รวมกันเป็นฟองอากาศ
 ที่มีขนาดตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรขึ้นไป จึงอาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เมื่อถูกคลื่นเสียงอัด
 มันจะหดตัวกลับ จากการมีขนาดใหญ่ระดับมิลลิเมตรเป็นระดับนาโนเมตร ที่เล็กกว่า 
ราว 1 ล้านเท่า พลังงานความร้อนที่เกิดขึ้น จะอัดอะตอมของ deuterium (2D)
ให้หลอมรวมกัน แล้วมีอนุภาคนิวตรอนและโปรตอนหลุดออกมา แต่โปรตอนจะถูก aceton ดึงดูด
 ส่วนนิวตรอนจะสามารถเล็ดลอดออกมา ซึ่ง Taleyarkhan อ้างว่าเขาตรวจพบนิวตรอนจริงๆ
 ซึ่งนั่นคือ ผลพวงที่ได้จากการหลอมรวมอะตอมที่เบาของ deuterium เป็นอะตอมของธาตุ
ที่หนักกว่า เช่น tritium หรือ heliumซึ่งนี่ก็คือ cold fusion อีกรูปแบบหนึ่ง
แต่เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้ K.S. Suslick และ K.J. Kolbeck แห่งมหาวิทยาลัย lllinois
ในสหรัฐอเมริกาได้ทำการทดลองเรื่องนี้ซ้ำ และพบว่าปฏิกิริยาเปลี่ยนพลังงานเสียงเป็น
พลังงานแสง (sonoluminescence)ที่ใช้เวลานาน 0.000000000000001 วินาทีนี้ 
เกิดจากปฏิกิริยาเคมี มิได้เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ดังที่ Taleyarkhan คิด และพลังงานความร้อน
ที่เกิดขึ้นก็ไม่มากพอที่จะทำให้เราได้พลังงานรูปแบบ fusion
ข้อเสนอ ณ วันนี้ จึงมีว่านักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถสร้างปฏิกิริยา fusion ที่มีอุณหภูมิต่ำได้
และ fusion นั้นก็ยังคงเป็นพลังงานในฝันของมนุษยชาติในอนาคต ทั้ง ๆ ที่สหรัฐอเมริกา
 ได้ทุ่มเงิน 765,000 ล้านบาทไปเพื่อศึกษาเรื่องนี้แล้ว แต่เราก็ยังไม่สามารถได้พลังงาน fusion 
มากและต่อเนื่อง
ในอนาคต เราจึงมีโครงการ International Thermonuclear Reactor (ITER) และ Fusion lgnition Research Experiment (FIRE)
 ที่มุ่งหาพลังงานจาก Hot fusion โดยอาศัยความร่วมมือจากนักวิทยาศาสตร์หลายชาติ เช่น
 สหรัฐฯ ญี่ปุ่น แคนาดา และสเปน เพื่อสร้างแก๊สที่ร้อน 100 ล้านองศา ให้หลอมรวมใน
สนามแม่เหล็กความเข้มสูง ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานออกมา 4x109 วัตต์ ในอีก 30 ปี

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

10 สถานที่ในโลกซึ่งคุณไม่ควรจะไป

อันดับที่ 10 Centralia, Pennsylvania




 เมืองนี้มีชื่อว่า เซ็นทราเลีย รัฐเพนซิลวาเนีย 

สมัยก่อนเมืองแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่ออุตสาหกรรมเหมืองถ่านหิน มีทั้งสถานีรถไฟ โบสถ์ โรงแรมห้าดาว โรงเรียน โรงละคร ธนาคาร ไปรษณีย์ และร้านค้าทั่วไป แต่แล้วในปี 1962 ได้ เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ใหญ่ในเมืองนี้ขึ้น โดยต้นเพลิงมาจากมีคนจุดไฟเผาขยะทิ้งไว้ในบ่อของเหมือง จากนั้นไฟได้ติดถ่านหิน และขยายวงกว้างจนคลุมพื้นที่ใต้ดินของบ้านเรือนทั้งหมด ไฟได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว แม้มีการพยายามใช้เงินนับล้านในการดับไฟ แต่ก็ไม่เป็นผล และมันก็ยังไหม้อยู่จนทุกวันนี้ (นานกว่า 40 ปีเข้าไปแล้ว) หลายคนได้รับพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ ทั้งในอากาศและการปนเปื้อน รวมถึงการเกิดเหตุดินยุบลึกลงไปเป็นร้อยฟุต จนทางการต้องหาที่อยู่ใหม่แก่ชาวเมือง 

แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีบางครอบครัวเลือกที่จะอยู่ต่อ และพวกเขาก็ยังอยู่ที่นั่น แม้ว่ารัฐเพนซิลวาเนียจะประกาศห้ามใช้ตึกทุกหลังในเมืองนั้น และกรมไปรษณีย์สหรัฐได้ยกเลิกรหัสพื้นที่ของที่นั่นก็ตาม ในปี 1981 เซ็นทราเลียมีผู้คนอาศัยอยู่ถึง 1,000 ครัวเรือน แต่ปัจจุบันจำนวนลดจนแทบนับจำนวนคนได้ 


อันดับที่ 9 Dallol





บางทีสถานที่แห่งนี้น่าจะเป็นสถานที่สวยงามที่สุดใน 10 อันดับของเรา เพราะว่าดูจากภาพเราได้เห็นทิวทัศน์ที่แปลกตา มีสีสันมากมายไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีส้ม สีเขียว หรือสีแดง ซึ่ง เกิดจากเกลือร้อนๆ เดือดปุดๆ เป็นสถานที่ที่อยู่ทางเหนือของเอธิโอเปีย ในระดับสูง 50 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่เมืองผี (หมายถึงเมืองร้าง) สาเหตุพื้นที่แห่งนั้นใกล้ภูเขาไฟ ทำให้อุณหภูมิในพื้นที่นั่นร้อนเกินไป ไม่เหมาะจะเป็นสถานที่อยู่อาศัย 
นอกจากนี้สถานที่แห่งนี้ยังถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ห่างไกลที่สุดในโลก ถนนก็ไม่มี การขนส่งต้องไปทางบกโดยใช้อูฐของคาราวาลเท่านั้นเพื่อไปเก็บเกลือซึ่งมีอยู่ เต็มในบริเวณนั้น แม้ครั้งหนึ่งที่แห่งนี้เคยมีรางรถไฟหากแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มันก็ถูกปิดตัวลงเนื่องจากมีเส้นทางการค้าที่ดีกว่ามาทดแทน

ส่วนสาเหตุสถานที่แห่งนี้ไม่ควรไปเนื่องจากมันตั้งอยู่ใกล้ชายแดนที่มีความ ขัดแย้ง ในหลายปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวที่พยายามจะเป็นสถานที่แห่งนี้มักถูกกลุ่ม โจรทำอันตรายอยู่บ่อยครั้ง แต่หากคุณอยากจะไปเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้จริงๆ คุณจำเป็นต้องมียานพาหนะติดอาวุธไปด้วย 


อันดับที่ 8 Hanford Site





แฮนฟอร์ด สถานที่แห่งนี้อยู่ในภาคใต้ของวอชิงตัน อเมริกา อดีตเคยเป็นชุมชนเกษตรกรรมขนาดเล็ก ก่อนที่ในปี 1943 พื้นที่แห่งนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในโครงการแมนฮัตตัน ในการผลิตพลูโตเนียมเพื่อใช้ในโรงงานนิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในสมัยสงคราม โลกครั้งที่ 2 และในช่วงสงครามเย็น และเนื่องด้วยผลิตพลูโตเนียมมากเกินไป ทำให้ของเสียกากกัมตภาพรังสีออกมามีจำนวนมากจนทางรัฐบาลไม่มีแผนจะจัดการสาร ดังกล่าว จนเป็นเหตุทำให้พื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยการปนเปื้อนกากกัมตภาพรังสีและปน เปื้อนระบบนิเวศในอากาศ ทำให้มีประชาชนพื้นที่แห่งนี้ได้รับสารก่อมะเร็งและสารพิษหลายราย 


อันดับที่ 7 Dzerzhinsk





เมืองเดอร์ซินสค์ เป็นเมืองที่อยู่ในรัสเซีย ตั้งอยู่บนแม่น้ำ Oka อยู่ไม่ไกลจากทางตะวันออกของกรุงมอสโกประมาณ 400 กิโลเมตร เมืองนี้ก่อตั้งเมื่อปี 1920 ตามนายเฟลิกซ์ เซียรชินสค์ หัวหน้าหน่วยเคจีบีคนแรก (ในสมัยก่อนเรียกหน่วยนี้ว่า หน่วย เชก้า ) 

จุดเริ่มต้นที่เมืองนี้กลายเป็นสถานที่น่ากลัวเริ่มขึ้นเมื่อปี 1941 (จนถึงปัจจุบัน) โดยปี 1941 ก่อนจะถึงในสมัยสงครามเย็นนั้นเมืองแห่งนี้ได้กำหนดเป็นแหล่งผลิตอาวุธเคมี ชั้นนำของประเทศ ซึ่งอาวุธเคมีที่ว่าล้วนเป็นพิษและอันตรายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นไดออกซิน , สารหนู, ซาริน , เลวิไซต์ , ซัลเฟอร์มัสตาร์ด , ไฮโดรเจนไซยาไนด์ , ฟอสจีน และตะกั่ว รวมทั้งอินทรีย์เคมีอื่นๆ จนกระทั้งมีการหยุดผลิตสารพิษนี้ลง ก็ถึงคราวเกิดปัญหาเมื่อทางรัฐบาลไม่รู้จะจัดการสารพิษจำนวนมากนี้ได้อย่าง ไร ทำให้มีการจัดการแบบง่ายๆ คือเอาไปฝังดินหรือทิ้งลงแม่น้ำ ส่งผลทำให้มีสารตกค้างจนถึงทุกวันนี้ และประชากรนั้นเมืองนี้ป่วยและตายด้วยสารพิษตกค้างเพิ่มขึ้นทุกปี 

ปัจจุบันเมืองแห่งนี้กลายเป็นศูนย์กลางผลิตสารเคมีและได้ถูกระบุว่ามีระดับ มลภาวะที่เลวร้ายที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง น้ำประปาปนเปื้อน สารเคมีตกค้าง และเมืองแห่งนี้ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวจากภายนอกเข้าชม 


อันดับที่ 6 Dharavi





เป็นสลัมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย อยู่ในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ที่หลายๆ เว็บบอกว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เจาะลึกสภาพชีวิตของอินเดีย ชนิดที่เรียกว่าไม่ไปสถานที่แห่งนี้แสดงว่าคุณไม่ไปถึงอินเดียที่แท้จริง (ว่าไปนั้น อันนี้ผมเขียนเองน่ะ อย่าไปเชื่อ) 

สาเหตุที่ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ก็เพราะว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งทำเครื่องปั้นดินเผาและอุตสาหกรรมสิ่งทอ ส่วนสาเหตุที่แออัดก็ง่ายมากอินเดียเป็นประเทศที่ประชากรมากอันดับต้นๆ ของโลก แต่คุณภาพชีวิตประชาชนต่ำ ดังนั้นพวกเขาเลยแห่ไปยังเมืองหลวงเพื่อหางานทำ แต่ว่าเมืองมุมไบที่กินที่อยู่แพงเหลือเกิน ดังนั้นสลัมจึงเป็นทางเลือกที่ดี โดยค่าเช่าคิดเพียง 185 รูปี(4 เหรียญสหรัฐ) ต่อเดือนเท่านั้น 

Dharavi เป็นพื้นที่สลัมที่มีประชากรเกินกว่าหนึ่งล้านคน แออัดในพื้นที่ 2.2 ตร.กม. สภาพแวดล้อมที่นั้นสกปรกและแออัดอย่างร้ายกาจ อีกทั้งผู้คนในที่แห่งนี้ดูแล้วไม่เป็นมิตร บรรยากาศเหมือนบอกว่านี้ไม่ใช่สถานที่ที่นักท่องเที่ยวมาเดินน่ะเฟ้ย พื้นที่ส่วนใหญ่รถเข้ามาไม่ได้ ระบบระบายน้ำก็ดีมากชนิดว่าฝนตกเมื่อไหร่น้ำท่วมเมื่อนั้น 

และปี 2006 มีสถิติน่าสนใจคือห้องน้ำสาธารณะในพื้นที่แห่งนี้หนึ่งห้องต้องรองรับคนกว่า 1440 คนต่อวัน(คงไม่ต้องถามว่าสกปรกไหม) ผลคือเมืองแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยปัสสาวะและสิ่งปฏิกูลต่างๆ นำไปสู่การแพร่ระบาดของโรคติดต่อ และพื้นที่แห่งนี้ได้ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง Slumdog (2008) ด้วยน่ะ 


อันดับที่ 5 Linfen





เมืองเทียนหยิง อยู่ในมณฑลอานฮุย ทางภาคใต้ของสาธารณรัฐ ประชาชนจีน เมืองแห่งนี้มีประชากรกว่า 4.2 ล้านคน และเมืองแห่งถูกอ้างเสมอว่าเป็นเมืองที่สกปรกที่สุดในโลก โดยมลพิษแห่งนี้ปกคลุมอยู่ทั่วเมืองเสมือนหมอกควัน 

สาเหตุมลพิษเหล่านั้นมา จากการเผาไหม้ของถ่านหินโรงงานไฟฟ้า และโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีขั้นต่ำที่ผิดกฎหมายมาใช้ในการผลิตแม้ว่าเมืองแห่งนี้จะถูกกดดันจากสื่อและหน่วยงานด้านแวดล้อมแล้วก็ตาม แต่กระนั้นจนถึงปัจจุบันเมืองแห่งนี้ก็ยังคงเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยมลพิษสาร ตะกั่วและโลหะหนักเหมือนเดิม 

ชาวจีนที่อาศัยอยู่ที่นี้จะต้องถูกบังคับให้สวมหน้ากากป้องกันจมูกตลอดวัน มีรายงานว่าบางวันควันปกคลุมหนาแน่นมากจนมีบางเวลาที่คุณไม่เห็นมือของตนเอง เวลาจะสัญจรด้วยรถจะต้องเปิดไฟตลอดเวลา และเด็กในเมืองนี้ป่วยเพราะสารพิษนี้เพิ่มขึ้นทุกปี 


อันดับที่ 4 Room 39





เกาหลีเหนือ แน่นอนมันกลายเป็นสถานที่ที่คุณไม่อยากจะ ไปอีกแห่งของโลก ซึ่งเราไม่แนะนำให้คุณวางแผนไปท่องเที่ยวประเทศนี้ในวันหยุดแน่นอน ส่วนชื่อห้อง 39 นั้นเป็นชื่อสำนักงาน หรือหน่วยงานลับที่คาดว่าที่ทำการอยู่ที่เปียงยาง เกาหลีเหนือ ก่อตั้งในปี 1970 โดยมีวัตถุประสงค์ในการรักษาเงินและเพิ่มเงินในกระเป๋าของท่านผู้นำคิม จอง อิล (เจ้าประจำ) 

โดยอย่างที่รู้กันว่าประเทศเกาหลีเหนือเป็นประเทศสันโดษ ความเป็นอยู่ในสภาพอดอยาก ประชาชนเป็นอยู่อย่างยากแค้น ทำให้ไม่เกิดการพัฒนาหลายด้าน ทำให้ท่านผู้นำไม่สามารถหาเงินหรือใช้เงินได้สะดวก ดังนั้นองค์กรนี้จึงได้ตั้งขึ้นเพื่องานนี้โดยเฉพาะ โดยคาดว่าเงินในกระเป๋าของผู้นำนี้มีเงินกว่า 5,000,000,000 ดอลลาร์ องค์กรนี้จะทำวิธีไหนก็ได้เพื่อรักษาเงินหรือเพิ่มเงินให้ดีที่สุด เช่น ฟอกเงิน ตั้งกองทุนปลอม ปลอมแปลงเงิน ทำกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น ค้าอาวุธ ลักลอบขนยาเสพย์ติด และนอกจากนี้องค์กรนี้ยังมีอำนาจในการใช้เงินเพื่อสนับสนุนทางการเมืองและ สร้างอาวุธนิวเคลียร์ 


อันดับที่ 3 Mogadishu





เป็นเมืองหลวง และใหญ่ที่สุดในโซมาเลีย ซึ่งเป็นประเทศแอฟริกาตะวันออก มีภูมิประเทศติดกับชายฝั่งทะเลในมหาสมุทรอินเดียที่ทำหน้าที่เป็นเมืองท่า สำคัญมานานหลายศตวรรษ 

หากแต่ในปี 1990 เมืองแห่งนี้ได้กลายเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนบัดดล เมื่อกองกำลังกบฏที่นำโดยผู้นำทัพ โมฮาหมัด ฟาราห์ ไอดิค (Mohamed Farrah Aidid) ยึดเมืองเป็นฐานที่มั่น ส่งผลให้บ้านเมืองไม่มีกฎหมาย ประชากรอดอยาก สหประชาชาติและอเมริกาเข้ามาแก้ปัญหาจนเกิดสงครามกลางเมือง 

ทุกวันนี้โซมาเลียกลายเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีเสถียรภาพน้อยที่สุดในโลก เพราะประเทศนี้ไม่มีรัฐบาลที่เป็นที่ยอมรับ ประชาชนอดอยากขาดโปรตีน ถนนหลายสายชำรุด อาคารหลายหลังถูกทำลายเนื่องจากโดนระเบิดใจกลางเมือง โจรสลัดระบาดโจมตีเรือที่ผ่านบริเวณนี้ทุกปี กองโจรมุสลิมปกครองด้วยกฎหมายศาลเตี้ย นอกจากนี้ยังมีการระเบิดฆ่าตัวตาย จนมีประกาศว่านักท่องเที่ยวที่จะมาประเทศโซมาเลียให้เว้นระยะห่างจากเมืองหลวง (จะไปทำไมเนี้ย) 


อันดับที่ 2 Cite Soleil





เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นตั้งอยู่ในเขตเมืองไฮติ มีการประเมินว่ามีคนกว่า 200,000 -300,000 คนอาศัยในพื้นที่แห่งนี้ และนี้คือสถานที่แออัดที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และยังเป็นหนึ่งในสถานที่อันตรายของโลก มันไม่มีท่อระบายน้ำ ไม่มีร้านค้าใดๆ ไม่มีตำรวจ หรือไฟฟ้า 

หลังจากเกิดรัฐประหารในปี 1991 ประชาชนถูกเข้าสู่วงจรแห่งความยากจน ความว่างงานอยู่ในอัตราสูง ประชากรไม่รู้หนังสือ นอกจากนี้ยังเกิดสภาวะแก๊งติดอาวุธครองเมือง ในปี 2004 เจ้าหน้าที่สหประชาชาติพยายามควบคุมพื้นที่หากแต่มันก็ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ 

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2010 เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของไฮติ ส่งผลทำให้ประชาชนกว่า 230,000 ล้านคน 230,000 คนเสียชีวิต และประชากรไฮติกว่าหนึ่งล้านคนไม่มีที่อยู่อาศัย ทำให้สถานที่สลัมแห่งนี้ยิ่งทวีความเลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก เกิดอาชญากรรม แก๊งติดอาวุธเริ่มออกอาละวาดทั้งลักพาตัวปล้นจี้ ผู้คนส่วนใหญ่ในสลัมส่วนมากเป็นเด็กและเยาวชน และมีไม่กี่คนที่รอดจนถึงอายุ 50 ส่วนมากเสียชีวิตเพราะโรคเอดส์ โรคร้าย หรือความรุนแรง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งค้ามนุษย์ สมาชิกก่อการร้าย นักโทษหนีจากคุก มันเป็นสถานทีน่ากลัวมากขนาดตำรวจไฮติยังไม่กล้าเข้าไปในนั้น 



อันดับที่ 1 Orangi Town





เมืองแห่งนี้เป็นที่ตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้อพยพใน ตะวันตกเฉียงเหนือของการาจี ประเทศปากีสถาน มันมีขนาดใหญ่กว่าสลัมในเมืองมุมไบ แต่มีความหนาแน่นน้อยกว่า และองค์ประกอบหลายส่วนไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่านี้คือสลัม (เพราะส่วนใหญ่คนที่อยู่อาศัยเป็นชนชั้นกลาง) 

ประชากรที่นี้ มีประมาณ 2.5 ล้านคน (แม้ทางภาครัฐจะบอกว่า 200,000 คน) เป็นมุสลิมกับชนกลุ่มน้อยจำนวนมากหลากหลายวัฒนธรรม ส่งผลให้เมืองแห่งนี้ประสบปัญหาความขัดแย้งชาติพันธุ์ 

แม้ว่าจะมีโครงการนำร่องในการให้ความรู้และการพัฒนาสร้างท่อส่งน้ำ ถนน และคลีนิก แต่อย่างไรก็ดีหลังจากสงครามอัฟกานิสถาน ทำให้มีผู้อพยพมาจำนวนมาก ความรุนแรงของสองเชื้อชาติ(ปากีสและอัฟกัน) ธุรกิจจำนวนมากปิดตัวลง ถนนถูกทิ้งร้าง ผู้คนต้องอาศัยอยู่แต่ในบ้านความรุนแรง การข่มขืน เหตุระเบิดฆ่าตัวตาย ลักพาตัว และการสังหารกลายเป็นเรื่องปกติของที่นี้ ส่งผลให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นสถานที่อันตรายที่สุดของโลกในที่สุด 

ข้อมูลเชิงพื้นที่

การกระจายทางพื้นที่ (spatial distribution) การกระจายเชิงพื้นที่คือการจัดการปรากฏการณ์ข้ามของพื้นผิวโลกและการแสดงผลกราฟิกดังกล่าวจัดเป็นเครื่องมือสำคัญในทางภูมิศาสตร์และสถิติสิ่งแวดล้อม
การแสดงผลกราฟิกของการกระจายพื้นที่อาจสรุปข้อมูลดิบโดยตรงหรืออาจสะท้อนให้เห็นถึงผลของการที่ซับซ้อนมากขึ้นในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆ ของปรากฏการณ์ที่สามารถแสดงในการแสดงผลกราฟิกเพียงหนึ่งเดียวโดยใช้เป็นทางเลือกที่เหมาะสมของสีที่แตกต่างเพื่อแสดงถึงความแตกต่าง
ระยะความแตกต่างขแงพื้นที่ ความคิดที่ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะไม่กระจายสม่ำเสมอทั่แผ่นดิน

ความแตกต่างในเชิงพื้นที่  (Spatial Differentiation) คือ ในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันในหลายๆด้าน
ทั้งลักษณะเฉพาะทางกายภาพและชีวภาพที่ไม่เหมือนกัน เช่น สภาพอากาศแต่ละพื้นที่

การแพร่กระจายทางพื้นที่ (spatial diffusion) คือ การที่นวัตกรรมแพร่กระจายจากจุดกำเนิดไปยังบริเวณอื่นๆ  สามารถศึกษาประเภท เส้นทาง และสร้างแบบจำลองกระบวนการแพร่กระจาย

ปฏิสัมพันธ์ทางพื้นที่ (spatial interaction) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ต่างๆ ในสถานที่ เช่น
ชนเผ่ากับบ้านเรือน อ่าวกับท่าเรือ หรือระหว่างพื้นที่ซึ่งอาจมีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างกัน
เช่น  การขนส่ง การย้ายถิ่น การแพร่กระจาย สามารถศึกษาประเภท ทิศทาง และปริมาณ

ช่วงเวลาในเชิงพื้นที่ (Spatial Temporal) คือ ช่วงเวลาในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไปในช่วงของการแบ่งเขตเวลา กิจกรรมต่างๆ ก็จะต่างกันออกไปตามช่วงเวลาของแต่ละพื้นที่ เช่น ขณะที่ประเทศไทยเป็นตอนกลางวันผู้คนก็จะใช้เวลาทำกิจกรรมต่างๆ ในเวลาเดียวกันประเทศอเมริกาก็จะเป็นเวลากลางคืน