วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แผนแบบไหน? ปกป้องน้ำท่วมยั่งยืน

 ท่ามกลางความไม่แน่นอนและไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าแผนการป้องกันภัยพิบัติน้ำท่วมในปี 2555 จะออกมาเช่นไร โดยเฉพาะแผนปกป้องกรุงเทพฯ ที่เปรียบเสมือนไข่แดงของประเทศ จะมีแผนรับมือให้รอดพ้นจากภัยพิบัติจากอุทกภัยได้อย่างไร ทำให้หลายฝ่ายมีการจัดเสวนาเพื่อระดมสมองในเรื่องดังกล่าว  
    เมื่อเร็วๆ นี้ การเคหะแห่งชาติ ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเวทีระดมสมอง “นวัตกรรม...ป้องกันภัยน้ำท่วม 2555 ” โดยเชิญกูรูผู้เชี่ยวชาญน้ำคนดังจากประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์ มร.คอร์เนลิส เดคราฟ และนักวิชาการมือฉมังจาก สจล. ซึ่งที่ผ่านมา สจล.เคยผุดนวัตกรรมในด้านต่างๆ เพื่อการป้องกันน้ำท่วมมาแล้ว และยังทำหน้าที่เป็นแกนกลาง ให้ชุมชนฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ และรอบๆ มหาวิทยาลัย ตื่นตัวเตรียมพร้อมในการรับมือกับน้ำท่วมอย่างมีสติและมีองค์ความรู้ในการดำเนินการ 
      รศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติ และคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน “นวัตกรรม...ป้องกันภัยน้ำท่วม 2555” ว่า เพื่อเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนคนไทย และกำหนดแนวทางในการจัดทำแผนการรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  รวมถึงเพื่อสร้างภาคีเครือข่ายในการพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยใช้ประเด็นภัยพิบัติเป็นจุดเริ่มต้น โดยเริ่มเผยแพร่องค์ความรู้ในพื้นที่เขตลาดกระบังก่อน เนื่องจากที่นี่เป็นพื้นที่ Flood way ทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง มีโรงงานและชุมชนจำนวนมาก ถือว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม ซึ่งถ้าหากถูกน้ำท่วมจะเกิดความเสียหายมหาศาล แม้ปีที่ผ่านมาน้ำจะไม่ท่วมพื้นที่ดังกล่าว แต่ได้เกิดมีการรวมตัวของผู้มีจิตอาสาระดับปัญญาชนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.
    โดยขณะนี้ สจล.ได้จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติ วิศวลาดกระบัง ซึ่งจะดีเดย์เปิดเป็นทางการได้ในเร็วๆ นี้ เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชนทั้ง 61 ชุมชนในเขตลาดกระบัง ในการเฝ้าระวังระดับน้ำใกล้ชุมชน และการปรับตัวอยู่กับน้ำท่วม เรียกได้ว่าเป็น “ลาดกระบังโมเดล” จึงถือโอกาสนี้เป็นเวทีพิเศษที่จะได้แบ่งปันองค์ความรู้จาก 3 กูรูน้ำผู้เชี่ยวชาญด้วยประสบการณ์และบทบาทในด้านภัยพิบัติน้ำท่วม 
      มร.คอร์เนลิส เดคราฟ (Mr.Cornelis Dijkgraaf) ผู้เชี่ยวชาญด้านอุทกภัย การพัฒนาที่อยู่อาศัยและเมือง และคณะทำงานด้านการบริหารจัดการน้ำแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์  กล่าวว่า ต้นตระกูลเดคราฟเป็นผู้ก่อสร้างพนังกั้นน้ำทะเลของประเทศเนเธอร์แลนด์มาก่อน  
     สำหรับปัญหาน้ำท่วมของไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านอุทกภัยจากเนเธอร์แลนด์ ให้แนวคิดว่า กรุงเทพฯ ควรจะต้องมีนวัตกรรมป้องกันจากวิกฤติน้ำทะเลหนุน เพราะในช่วงเกิดอุทกภัยนั้น จะเป็นช่วงที่มีน้ำทะเลหนุนในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำได้ ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่อันตราย 
    ผู้เชี่ยวชาญรายนี้ได้เล่าถึงประสบการณ์บริหารจัดการน้ำที่ปลายน้ำของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และประสบความสำเร็จในการป้องกันการเกิดอุทกภัย ว่า 26%พื้นที่ของประเทศเนเธอร์แลนด์อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และอีก 59 % ของพื้นที่ในประเทศเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย สภาพภูมิประเทศดังกล่าวทำให้ชาวดัตช์จำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องน้ำมาหลายร้อยปี จนถึงปัจจุบัน ผังเมืองจะแบ่งตามเส้นแบ่งของการจัดการน้ำ    
    "อุทกภัยของเนเธอร์แลนด์มาจาก 2 ส่วนคือ จากทะเล และจากประเทศสวิสและเยอรมนี วิธีการแก้ปัญหาโดยการบูรณาการจัดการน้ำ สร้างทะเลสาบน้ำจืด ที่สามารถเก็บกักน้ำส่วนเกินไว้และนำไปใช้ในฤดูแล้งได้ ควบคุมน้ำจากเครือข่ายคลองเล็กเชื่อมโยงกับคลองใหญ่ และเขื่อนพนังกั้นชายฝั่งทะเล สมัยที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ก็ปั๊มน้ำออกจากพื้นที่ต่ำภายในเขื่อนด้วยกังหันลม (Wind Mills)" มร.คอร์เนลิส เดคราฟ กล่าว
         ที่น่าสนใจก็คือ ระบบผันน้ำที่เรียกว่า BEEMSTER หรือ POLDER ประกอบด้วยการทำพนัง (Dike) ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งมีปัญหาน้ำท่วมและการขุดคลองขนาดเล็กนอกพนัง เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่ โดยติดตั้งระบบปั๊มน้ำและกังหันลม 50 แห่ง ผันน้ำท่วมออกสู่คลองนอกพนังจนเป็นพื้นที่แห้ง 
    "พื้นที่ที่เคยถูกน้ำท่วมพอผันน้ำออกไป น้ำแห้ง ถึงกลายเป็นพื้นที่มีค่าไป เพราะดินมีคุณภาพดีอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และพอพื้นที่ลุ่มต่ำนี้ ได้รับการป้องกันน้ำท่วม ก็ดึงดูดให้มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนพัฒนาพื้นที่ นับเป็นความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน พิสูจน์ให้เห็นว่ามนุษย์สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลได้"
      ต่อมาปี พ.ศ.2496 หรือ ค.ศ.1953 เกิดวิกฤติพายุฝนตกหนัก น้ำท่วมใหญ่ เขื่อนแตก มีชาวเนเธอร์แลนด์เสียชีวิตกว่า 800 คน รัฐบาลเนเธอร์แลนด์จึงทุ่มเทคิดหาทางแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ระดมผู้เชี่ยวชาญทุกสาขาทั่วประเทศ และทำพนังเขื่อนตลอดแนวชายฝั่งทะเล ปัจจุบันมีการบูรณาการอย่างเป็นระบบ  และในการออกแบบ วางแผน สร้างก่อสร้างสิ่งใดก็ตาม จะคำนึงว่า น้ำเป็นโจทย์หรือองค์ประกอบหนึ่งเสมอ (Planning and Design With Water)  
    "ดังจะเห็นจากตัวอย่างของบ้านริมชายน้ำมีที่จอดเรือ,  บ้านลอยน้ำ (Floating House) ในเมืองอัมสเตอร์ดัม ครบครันด้วยระบบประปา ไฟฟ้าและกำจัดสิ่งปฏิกูล, บ้านแถวลอยน้ำ (Floating Community) กลางเมืองรอตเตอร์ดัม แต่คนทั้งประเทศคงจะอยู่ในเรือไม่ได้ทั้งหมด ฉะนั้นจึงต้องปรับมุมมองความคิดกันใหม่ว่า น้ำเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ  และเราจะต้องมีวิธีการอย่างยั่งยืนเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่ออุทกภัย" มร.คอร์เนลิส กล่าว
          สำหรับประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านป้องกันน้ำท่วมจากเนเธอร์แลนด์กล่าวว่า หลังมหาอุทกภัยปี 2554 ประเทศไทยมีแผนดำเนินการมากมายหลายอย่าง เช่น จะทำพื้นที่รองรับน้ำ หรือ Flood way ที่มีความกว้างถึง 200 เมตร แต่เขากลับเห็นว่า วิธีการนี้อันตราย ที่มองเห็นคือ Flood way จะระบายน้ำท่วมได้ก็เมื่อระดับน้ำในทะเลอยู่ต่ำกว่าพื้นที่น้ำท่วมเท่านั้น และหากน้ำทะเลหนุนสูงขึ้นทุกปีก็เกินกำลังที่แม่น้ำเจ้าพระยาจะรับน้ำได้  ซึ่งอาจทำให้กรุงเทพฯ ต้องจมน้ำ การแก้ปัญหาอาจต้องทำที่ปลายน้ำ ด้วยการสร้างพนังกั้นไม่ให้น้ำทะเลเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา และสูบน้ำที่ท่วมสู่แม่น้ำ หลังจากนั้นพอน้ำทะเลไม่หนุนสูง ก็ระบายน้ำจากแม่น้ำออกไปสู่ทะเลได้
    2.การสร้างพนังคอนกรีตสูงรอบนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งจะทำให้น้ำไหลไปท่วมพื้นที่อยู่อาศัยรอบๆ นิคม ประชาชนโดยรอบได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น การแก้ปัญหาจะต้องทำอย่างพิจารณาองค์รวม (Intregated Approach) และไม่เพียงนิคมอุตสาหกรรมเท่านั้นที่จะได้รับการป้องกัน แต่ต้องรวมพื้นที่อยู่อาศัยด้วย  
    "การบริหารจัดการน้ำที่ผสมผสานบูรณาการเท่านั้นที่จะเกิดประสิทธิภาพและความสำเร็จ พื้นที่กรุงเทพฯ มีการทรุดตัวลงเรื่อยๆ ควรนำระบบ Polder System มาใช้" มร.คอร์เนลิส สรุป
       ดร.สุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร หัวหน้ากลุ่มงานแบบจำลอง ฝ่ายสารสนเทศทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ข้อสังเกตการบริหารจัดการน้ำของเนเธอร์แลนด์ว่า พนังในเนเธอร์แลนด์นั้นกั้นคนกับปลา แต่พนังของกรุงเทพฯ กั้นคนกับคน และเราต้องมั่นใจว่ากรุงเทพฯสามารถแยกระบบน้ำเสียออกจากน้ำดีให้ได้เสียก่อน คนไทยต้องปรับความคิดใหม่ อย่ากลัวน้ำ แต่ควรกลัวว่าน้ำจะไม่มีใช้มากกว่า จริงๆ แล้วคนไทยอยู่กับน้ำมาช้านาน เราต้องพึ่งพาน้ำ   การจะอยู่กับธรรมชาติ ให้มองอย่างสมดุล 
    ส่วนจุดต่างของสถานการณ์ปี 2554 และ 2555 คือ ปีก่อนเรามีพายุ 5 ลูก ปี 2555 ผ่านไปแล้ว 2 ลูก มีปริมาณฝนน้อยกว่า ภาครัฐเตรียมความพร้อม เราทำคลังข้อมูลน้ำ รวบรวมเป็นข้อมูลชุดเดียวจากแหล่งเดียว โดยดูได้จาก www.thaiwater.net   วางระบบมอนิเตอร์น้ำโดยติดตั้งเครื่องมือพลังแสงอาทิตย์ ติดตั้งกล้องวงจรปิด หรือ CCTV 140 จุด ในลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน  แม่น้ำเจ้าพระยาและเครือข่ายคลองสำคัญ ทำให้ทราบอัพเดตปริมาณและทิศทางของน้ำอย่างทันท่วงที  
    นอกจากนี้ยังเตรียมความพร้อมโดยพัฒนาการสำรวจทางอากาศ ใช้หุ่นยนต์ติดกล้องและเครื่องบินบังคับออกสำรวจ (Unmanned Aerial Vehicle–UAV) ซึ่งมีประสิทธิภาพและค่าใช้จ่ายถูกกว่าการใช้เฮลิคอปเตอร์อย่างมาก เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนบริหารจัดการน้ำและติดตามตรวจสอบระหว่างดำเนินการได้ดี เช่น ดูคันกันน้ำที่รั่ว ดูการทำงานของเรือผลักดันน้ำทั้ง 54 จุดใน กทม. เป็นต้น ทั้งนี้ระบบสารสนเทศและข้อมูลที่ดีจะทำให้การบริหารจัดการน้ำในปี 2555 ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพในการป้องกันน้ำท่วม 
    ผศ.ดร.คมสัน มาลีสี รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สลจ. ได้นำเสนอมุมมองนวัตกรรมของภาคประชาชน ซึ่งได้จัดตั้งเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังภัยพิบัติ วิศวะลาดกระบัง พัฒนาจากประสบการณ์ “ลาดกระบังโมเดล” ในช่วงที่เกิดมหาอุทกภัยครั้งที่ผ่านมา ซึ่งจะมีผลทำให้การสื่อสารและบริหารจัดการของหน่วยต่างๆ ในชุมชนเครือข่ายตื่นตัว มีองค์ความรู้และทักษะ เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติน้ำท่วม ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
    สำหรับกรุงเทพฯ ในด้านตะวันออกสูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 50 ซม. แต่อัตราการทรุดตัวสูงปีละ 1 นิ้ว เนื่องจากตั้งบนดินเหนียวอ่อน ซึ่งลึกถึง 12-15 เมตร ในช่วง 100 ปีข้างหน้ากรุงเทพฯ อาจทรุดลงถึง 2 เมตร จึงต้องคิดว่าอนาคตลูกหลานจะอยู่กันอย่างไร ทั้งนี้ หากมองสาเหตุน้ำท่วมหนักปี 54 เกิดจากการบริหารจัดการน้ำและฝนพายุที่ตกหนัก ทำให้น้ำท่ามาเจอน้ำเขื่อน ที่จำเป็นต้องระบายออกเป็นปริมาณมหาศาล ซึ่งใน ช่วง ก.ย.–ต.ค.ปีก่อนน้ำในเขื่อนมีถึง 100% แต่ปีนี้น้ำในเขื่อนเหลือกว่า 50% ทำให้ต่อให้ฝนตกหนักอย่างปีที่แล้ว ถ้าบริหารน้ำในเขื่อนให้ดี ก็ยากที่น้ำจะท่วมรุนแรง
         ผศ.ดร.คมสันกล่าวต่อว่า จุดสำคัญของการรับมือปริมาณน้ำ คือ ต้องตัดแบ่งลุ่มน้ำที่นครสวรรค์ไปสู่ลุ่มน้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเจ้าพระยาปัจจุบันมีเขื่อนกั้นตลอด ไม่มีแก้มลิงธรรมชาติแล้ว เราต้องจัดการน้ำส่วนนี้ด้วยแก้มลิงที่สร้างขึ้น      
    นักวิชาการรายนี้ยังให้ความเห็นอีกว่า ซึ่งการลงทุนโครงการที่จะแก้ปัญหาและป้องกันน้ำท่วม ภาครัฐควรระดมนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญของไทย ซึ่งมีความชำนาญหลากหลาย  มองปัญหาและวิเคราะห์วางแผนอย่างรอบด้านและมุ่งมองการรองรับกับขนาดของปัญหาโลกร้อนในอนาคตไว้ด้วย ถ้าเราไม่กั้นปากอ่าว ที่ปลายแม่น้ำเจ้าพระยา เราจะเจอกับน้ำทะเลหนุนซ้ำ ที่จะก่อให้เกิดปัญหาวิกฤติอุทกภัยได้รุนแรง
         ในด้านการจัดการของชุมชน ซึ่งต้องมีนวัตกรรม โดยจัดตั้งเครือข่ายภาคีของชุมชน ประกอบด้วยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และชุมชนต่างๆ ยึดหลัก “รู้เขา" ต้องศึกษาข้อมูลในอดีต และต้อง “รู้เรา” ว่าเรามีศักยภาพ เครื่องมือ การจัดการพร้อมรับภัยพิบัติเพียงใด มุ่งเน้นการลดผลกระทบจากภัยน้ำท่วม ที่เรียกว่า ลาดกระบังโมเดล ซึ่งมี 5 ขั้นตอน คือ 1.การสำรวจ แต่ละชุมชนทำแผนสำรวจทางน้ำต่างๆในพื้นที่ ปีที่แล้วมีระดับน้ำ 1.17 เมตร เท่ากับระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลาง 2.ตั้งรับ มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายชุมชน ประชุมวางแผนการป้องกันและการจัดการในกรณีต่างๆ  3.เฝ้าระวัง เก็บสถิติระดับน้ำคูคลองอย่างต่อเนื่องโดยได้ติดตั้งมาตรวัดระดับน้ำ และให้ชุมชนรายงานเข้ามายังศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติ วิศวะลาดกระบัง เราจะรู้ได้ทันทีว่าน้ำมากี่เซ็นต์แล้ว 
    4.ดูแล ให้ความรู้และฝึกซ้อมการจัดการ เมื่อน้ำอุทกภัยเข้ามา ชุมชนไม่หวังรอรัฐช่วยอย่างเดียว แต่รวมพลังและดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ความช่วยเหลือและปรับแผนให้เหมาะกับสถานการณ์จริงเสมอ 5.ฟื้นฟู เมื่อน้ำลด ไม่ปล่อยสภาพให้เนิ่นนาน หาทางผลักดันน้ำให้ออกไปจากพื้นที่อย่างไร ไม่ต่างคนต่างสูบเพื่อตนเอง แต่มีองค์กรกลางเครือข่ายชุมชนขับน้ำจากเหนือลงใต้ ร่วมกับภาครัฐดูแลฟื้นฟูถนน ไฟฟ้า ประปา"

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทำไมเมืองไทยไม่มีหิมะตก


 ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก กินพื้นที่ตั้งบริเวณเส้นศูนย์สูตรไปจนถึงบริเวณขั้วโลกเหนือ อยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 77 องศา 45 ลิปดาเหนือ ถึง 1 องศา 45 ลิปดาเหนือ และเส้นลองติจูดที่ 169 องศา 40 ลิปดาตะวันตก ถึง 26 องศา 4 ลิปดาตะวันออก โดยปกติเส้นละติจูดจะทำให้เรารู้สภาพอากาศของต่ำแหน่งประเทศนั้นๆ โดยตำแหน่งที่ตั้งที่มีค่าละติจูดต่ำ ก็จะมีอุณหภูมิสูงกว่าตำแหน่งพื้นที่ที่อยู่ละติจูดสูงกว่า เพราะอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากกว่านั่นเอง ด้วยความกว้างขวางขนาดนี้ ทวีปเอเชียจึงมีความหลากหลายทางสภาพภูมิอากาศ เรียกว่ามีตั้งแต่ร้อนแห้งแล้งแบบทะเลทราย ไปจนถึงหนาวแบบขั้วโลก เลย

เด็กดีดอทคอม :: ทำไมเมืองไทยไม่มีหิมะตก

              ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูด 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ ถึง 20 องศา 25 ลิปดาเหนือ เรียกว่า อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาเพียงนิดเดียว ซึ่งถือว่าเป็นเขตร้อนชื้น โดยรวมอากาศมาตรฐานของไทยก็จะอบอ้าว สลับกันระหว่างร้อนกับฝนตก  ถ้าฝนก็มีมรสุมหลายชนิด ถ้าหน้าหนาว ก็ให้ได้รู้สึกเย็นบ้างพอเป็นพิธี ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ โดยภาคเหนือจะหนาวที่สุด ส่วนภาคใต้จะไม่ค่อยหนาว เน้นฝนตกอย่างเดียว หลังจากนั้นก็กลับมาใช้ชีวิตแบบร้อนๆ ตามเดิม

             ด้วยสภาพภูมิอากาศแบบนี้ก็พอจะอธิบายได้ว่า เมืองไทยยังหนาวไม่พอที่หิมะจะตกลงมาได้   เพราะหิมะจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่ออยู่ในชั้นบรรยากาศที่อุณหภูมิต่ำประมาณ 0 องศา หรือถ้ามีฝนตกร่วมด้วยก็อาจจะไม่ต้องถึง 0 องศา เพราะบรรยากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสม

              ถ้าจะอธิบายง่ายๆ หิมะ ก็คือ การรวมตัวของละอองน้ำในบรรยากาศ ที่ควบแน่นและตกลงมา ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายๆ ฝน แต่จะแตกต่างตรงที่เมื่อละอองน้ำเจออากาศเย็นและมีความชื้นที่พอเหมาะ ก็เลยตกลงมาในรูปของผลึกน้ำแข็งนั่นเอง

             ดังนั้นพื้นที่ที่จะเกิดหิมะได้ ก็จะต้องอยู่ใต้เส้น Tropic of capricron ในซีกโลกใต้ หรือ อยู่เหนือเส้น Tropic of cancer ขึ้นไปในซีกโลกเหนือ ซึ่งประเทศจีน รัสเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น อยู่เลยเส้นนี้ จึงมีหิมะตกได้ ส่วนประเทศไทยของเราล่ะ อยู่ตรงโซน Equator ซึ่งใกล้เส้นศูนย์สูตรพพอดี ก็เลยไม่มีหิมะ (ดูรูปประกอบด้านบน)
เด็กดีดอทคอม :: ทำไมเมืองไทยไม่มีหิมะตก

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พายุวีเซนเต


พายุวีเซนเต

mthai.com/wp-content/uploads/2012/07/15403.jpg”>
พายุวีเซนเต
เมื่อเวลา 0400 น. วันนี้ (24 ก.ค.55) พายุไต้ฝุ่น “วีเซนเต” (VICENTE) มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 60 กิโลเมตร ทางทิศใต้ของเมืองมาเก๊า ประเทศจีน หรือที่ละติจูด 22.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 113.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่า พายุนี้จะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งตอนเหนือเกาะไหหลำในวันนี้ (24 ก.ค.55)และจะอ่อนกำลังลง ก่อนเคลื่อนตัวไปประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 25กรกฎาคม 2555 นี้
ลักษณะดังกล่าวจะส่งผลทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ดังนี้คือ
– ในช่วงวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2555 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม
– ในช่วงวันที่ 24-27 กรกฎาคม 2555 ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์
– ในช่วงวันที่ 25-27 กรกฎาคม 2555 บริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่ลุ่ม ใกล้ทางน้ำไหลหลาก บริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
สำหรับในช่วงวันที่ 24-27 กรกฎาคม 2555 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย
ประกาศ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 05.30 น.

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

จักรวาลกำลังเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ



123
456
 ด้วยความช่วยเหลือของกล้องโทรทัศน์ที่ให้ภาพรายละเอียดสูง ( high-resolution telescope )นักดาราศาสตร์ก็ได้ค้นพบปรากฏการณ์ที่สำคัญและน่าอัศจรรย์ มากมาย

เมื่อเร็วๆนี้ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ และ ชาวออสเตรเลีย ต่างก็ค้นพบหลักฐานว่า จักรวาลกำลังขยายตัวออก ด้วยอัตราเร่ง ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์คิดว่าจักรวาลถือกำเนิด จากการระเบิดครั้งใหญ่ ( Big Bang ) เมื่อประมาณ 15 พันล้านปีก่อน หลังจากนั้นดวงดาวและกาแลคซี่ ต่างๆ ก็ขยายตัวออกอย่างต่อเนื่อง ( ภาพ ที่ ๑ ) ตามทฤษฎีในปัจจุบันหลายๆทฤษฎี กล่าวว่า แรงโน้มถ่วงที่ดึงพวกมันไว้ น่าจะทำให้การขยายตัวนั้น ลดลง อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ.๑๙๙๘ โลกก็ตกตะลึงเพราะการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ ๒ กลุ่ม บนพื้นฐานของความสว่างจ้าของ Supernovae ( เกิดจากดาวที่มวลสารมหึมา ระเบิดออก ) ในกาแลคซี่ที่ห่างไกลออกไป พวกเขาสรุปว่าอัตราการขยายตัวของจักรวาลกำลังเพิ่มขึ้น ซึ่งแต่เดิมเป็นที่เชี่อกันมานาน ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ว่าการขยายตัวของจักรวาลกำลังช้าลงเรื่อยๆ
ทีมนักวิทยาศาสตร์ ๒๗ คนที่นำโดย ศ.จอร์จ เอฟธาธิอู แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ทำการวิเคราะห์ภาพกาแลคซี่ ในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล จำนวน ๒.๕ แสนภาพ ที่ถูกบันทึกโดยกล้องโทรทัศน์ที่อังกฤษกับออสเตรเลีย ร่วมกันสร้าง ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขา ไซดิ้งสปริง รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ด้วยการเปรียบเทียบการแผ่รังสีไมโครเวฟจากพื้นหลังของจักรวาลในปัจจุบัน เทียบ กับของจักรวาลเมื่อมีอายุ ๓ ล้านปี พวกเขาก็พบว่าองค์ประกอบของจักรวาลนั้น วางอยู่บนหลักเรขาคณิตอย่างง่ายๆ ซึ่งปรากฏผลออกมาว่า จักรวาลกำลังขยายตัวออก ด้วยอัตราเร่ง ซึ่งสอดคล้องกับการค้นพบ Supernovae ก่อนหน้านี้ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การขยายตัวด้วยอัตราเร่งนี้ เป็นสัญญาณของ การระเบิดที่ใกล้จะมาถึง นักวิทยาศาสตร์คิดว่า คงจะมีแรงชนิดหนึ่งในจักรวาลที่ ดึง ดาว และ กาแล็คซี่ต่างๆ ออกจากกัน แต่พวกเขาไม่รู้ว่ามันเป็นแรงชนิดใด อย่างไรก็ตามพวกเขาสามารถได้สูตรทางคณิตศาสตร์จำนวนหนึ่งมาใช้ อธิบายปรากฎการณ์นี้ได้
เมื่อเร็วๆนี้ ศ.พอล สไตน์ฮาร์ท แห่งมหาวิทยาลัยพริ๊นซตัน และ ศ.นีล ทูรอค แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้เสนอแบบจำลองที่แสดงการเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าของ วัฏจักรการระเบิด และการก่อตัวขึ้นใหม่ ของจักรวาล ตามทฤษฎีของพวกเขา จักรวาลนั้นไม่มีทั้งจุดกำเนิด และจุดสิ้นสุด แต่เป็นไปตามวัฏจักรของการเกิด และดับ สถานีวิทยุบีบีซี เคยรายงานว่า นักจักรวาลวิทยา หลายๆคนที่เสนอทฤษฎีนี้ ระบุว่าจักรวาล จะต้องเป็นไปในลักษณะนี้ เพื่อจะอธิบายว่าทำไมดวงดาวและ กาแลคซี่ต่างๆ กำลังแยกห่างออกจากกันไปเรื่อยๆ จักรวาลนี้เต็มไปด้วยความลี้ลับมากมาย อาทิเช่น หลุมดำ ดาวควอร์ก และอนุภาคบางอย่างที่ปรากฎตัวออกมาอย่างคงที่ และแล้วก็หายไปสู่ความว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย ศ.สไตน์ฮาร์ท เชื่อว่าสูตรคณิตศาสตร์ข้างต้นนั้นได้ทำนายว่าจักรวาล ไม่มีทั้งจุดเริ่มต้น และสิ้นสุด จักรวาลจะผ่านการระเบิดครั้งแล้วครั้งเล่าเช่นนี้ไปตลอดกาล เขากล่าวว่า " การระเบิด ที่ภาพถ่ายของเรา แสดงให้เห็นนั้น อันที่จริงก็มิใช่การเริ่มต้น ของ กาลเวลา แต่เป็นการระเบิดครั้งหลังสุด ในห่วงโซ่ของการระเบิดที่มีมานาน ในระหว่างการเวียนว่ายอย่างนี้ จักรวาลได้ผ่านการก่อตัว การขยายตัว การเย็นตัวลง การหยุดนิ่ง และว่าง แล้วก็ขยายตัวอีก ตามทฤษฏีนี้จักรวาลจะขยายตัวเรื่อยไป และแล้วก็ระเบิดอีก ในมุมใดมุมหนึ่งของจักรวาล และทุกสิ่งจะเกิดขึ้นใหม่จากการเริ่มต้นครั้งใหม่นี้
พวกเขาชี้ว่าจักรวาลทุกวันนี้เกิดมาจากละอองฝุ่นของจักรวาลก่อน เมื่อเร็วๆนี้กล้องฮับเบิ้ล ได้ส่งภาพไปยังศูนย์อวกาศของสหรัฐฯ ซึ่งทำให้นักดาราศาสตร์ตกตะลึงมาก ภาพเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นการชนกัน และการสร้างขึ้นใหม่ของ กาแลคซี่ และการกำเนิดของดวงดาวใหม่ๆมากมาย ภาพที่ ๒ คือภาพล่าสุดของ Cone Nebula ซึ่งถูกตีพิมพ์โดย สำนักการเดินทางในอวกาศของสหรัฐฯ ( US. Space Navigation Bureau ) เมื่อ วันที่ ๓๐ เมษายน ศกนี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า กลุ่มแก๊สรูปโคนนี้ จะให้กำเนิดดาวใหม่ๆ การชนกันของ กาแลคซี่ ๒ กลุ่ม สามารถเห็นได้ในอีกภาพหนึ่ง ที่เรียกว่า ลูกอ๊อด ( Tadpole ) ดังภาพที่ ๓ อีกภาพก็แสดงการชนกันระหว่างกาแลคซี่รูปก้นหอย ( Spiral Galaxy ) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า " เจ้าหนู " ( The Mice ) ดังภาพ ที่ ๔ นักวิทยาศาสตร์คิดว่า ทางช้างเผือกอาจจะชนกับ กาแลคซี่ ข้างเคียง ซึ่งจะทำให้เกิดกาแลคซี่รูปไข่
นอกจากนี้ ตามการเปิดเผยของนาซ่า เมื่อวันที่ ๒๒ เมย. ศกนี้ ว่า สถานีสังเกตการณ์ของนาซ่า Chandral X ray ได้ให้ภาพของการพุ่งชน แล้วรวมตัวกันของ กาแลคซี่ Arp 220 เมื่อ ๑๐ ล้านปีก่อน จากข้อมูลที่สังเกตได้แสดงว่า การชนกันอย่างรุนแรงได้ก่อให้เกิดดวงดาวจำนวนมหาศาลขึ้นมาดังภาพที่ ๕ ภาพอื่นๆก็ได้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬาร รวมทั้งการก่อตัวของกาแลคซี่และดาวใหม่ๆ ดังภาพ ที่ ๖
บนพื้นฐานของการค้นพบทางดาราศาสตร์ ทำให้สรุปได้ว่า ปัจจุบันจักรวาลกำลังเผชิญกับ ช่วงจังหวะที่สำคัญ ของการขยายตัวด้วยอัตราเร่ง การระเบิด การสร้างใหม่ และการก่อรูปของดาวใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงอันมหาศาลเหล่านี้ในจักรวาลเป็นเรื่องน่าพิศวง ตามทฤษฎีโบราณนั้น ถือว่ามนุษย์ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงในสังคมมนุษย์ก็สอดคล้อง กับ ปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงของดวงดาว เมื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลนี้สะท้อนมายังโลก มันอาจเป็นการบอกล่วงหน้าว่า มนุษย์กำลังเผชิญกับ วาระแห่งการปรับเปลี่ยนที่สำคัญยิ่ง

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พายุหมุนเขตร้อน




CYCLONE 
Nagis  

พายุหมุนเขตร้อน 
     พายุหมุนเขตร้อน เป็นคำทั่วๆไปที่ใช้เรียกพายุหมุนหรือพายุไซโคลน (Cyclone) ที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ บริเวณที่พายุหมุนปกคลุมแคบกว่าบริเวณพายุหมุนในเขตอบอุ่น พายุดังกล่าวเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ใหญ่นักประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตร ขึ้นไป เกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดรุนแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไป โดยพัดเวียนเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา (Cyclonically) ในซีกโลกเหนือ ส่วนทางซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางพายุ ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลม และมีความเร็วสูงที่สุด ลมที่ใกล้ศูนย์กลางมีความเร็วตั้งแต่ 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (64 นอต) ขึ้นไป บางครั้งมีความเร็วลมเกินกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (175 นอต) ความกดอากาศต่ำสุดที่บริเวณศูนย์กลางพาย ุโดยทั่วไปต่ำกว่า 1,000 มิลลิบาร์ มีความชันของความกดอากาศ (Pressure Gradient) และความเร็วลมแรงกว่าพายุหมุนนอกเขตร้อน (Extratropical Storm) มีลักษณะอากาศร้ายติดตามมาด้วย เช่น ฝนตกหนักมากกว่าฝนปกติธรรมดาที่เกิดในเขตร้อนมาก บางครั้งมีพายุฟ้าคะนองเกิดขึ้นด้วย ฝนและเมฆมีลักษณะไม่เหมือนกันนักในพายุแต่ละลูก ส่วนใหญ่จะเห็นเป็นแนวโค้งหมุนเข้าหาศูนย์กลางหรือตาพายุ มีเมฆประเภทคิวมูลัส (Cumulus) และ คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ที่มีฝนอยู่ด้วย เกิดคลื่นสูงใหญ่ในทะเล 

ภาพกำเนิดขึ้นของพายุ
           
 หย่อมความกดอากาศต่ำ                                หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง  
        
พายุดีเปรสชั่น                                            พายุโซนร้อน 
  
พายุไต้ฝุ่น หรือเฮอริเคน

แหล่งกำเนิดของพายุหมุนเขตร้อน 
      บริเวณที่มีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นเป็นประจำ ได้แก่  
มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก ทางตะวันตกของลองจิจูด 170 ํ ตะวันออก เมื่อมีกำลังแรงสูงสุดเรียกว่า "ไต้ฝุ่น" เกิดมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน และตุลาคม  มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือแถวทะเลแคริบเบียนและอ่าวเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน" เกิดมากในเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม
     - มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ฝั่งตะวันตกของประเทศเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน"
     - บริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือ อ่าวเบงกอล เรียกว่า "ไซโคลน"
     - บริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือ ทะเลอาระเบีย เรียกว่า "ไซโคลน"
     - มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกของลองจิจูด 90 ํ ตะวันออก เรียกว่า "ไซโคลน"
     - มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย เรียกว่า "วิลลี่วิลลี่"  

 
  
                                                        พายุที่เกิดในส่วนต่างๆของโลก
      พายุหมุนเขตร้อนเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป และเกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไป โดยพัดเวียนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด 
 
มาตรฐานการวัดความเร็วลมในพายุ  
      ความเร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความรุนแรงของพายุ ซึ่งในย่านมหาสมุทรแปซิ-ฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้มีการแบ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศดังนี้
            - พายุดีเปรสชั่น ความเร็วลมไม่เกิน 33 นอต (61 กม./ชม.)
            - พายุโซนร้อน ความเร็วลม 34 - 63 นอต (62 - 117 กม./ชม.)
            - ไต้ฝุ่น ความเร็วลม 64 นอตขึ้นไป (118 กม./ชม.ขึ้นไป)
 ระดับพายุเฮอร์ริเคนตามมาตรวัดของแซฟไฟร์-ซิมป์สัน
"Saffir-Simpson Hurricane Scale"

     การจัดระดับเฮอร์ริเคนตามความรุนแรงของแรงลมที่ก่อให้เกิดพายุ ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี 1969 โดยเฮอร์เบิร์ตแซฟไฟร์ วิศวกรโยธา และบ็อบ ซิมป์สัน ผู้อำนวยการศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติสหรัฐฯ โดยแบ่งเป็น 5ระดับด้วยกัน และระดับ 5 คือระดับสูงที่สุดทั้งนี้การจัดระดับดังกล่าวถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินความเสียหายและอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นจากพายุเฮอร์ริเคนเมื่อพัดขึ้นสู่ชายฝั่งโดยการจัดระดับนี้จะใช้กับเฮอร์ริเคนที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกและทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น

ระดับ 1 (Category 1)
- ความเร็วลม 74-95 ไมล์ต่อชั่วโมง(119-153 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ความสูงของคลื่น 1.2-1.5 เมตร
- ความกดอากาศ 980 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง เล็กน้อย
ไม่ส่งผลต่อสิ่งก่อสร้าง มีน้ำท่วมบ้างตามชายฝั่ง ท่าเรือเสียหายเล็กน้อย
ตัวอย่างของเฮอร์ริเคนระดับนี้ได้แก่ Hurricane Isabel ซึ่งขึ้นฝั่ง ใกล้ ๆ เกาะ Drum Inlet
นอกชายฝั่งรัฐ N.Carolina ปี 2003 และ Hurricane Georges ขึ้นฝั่ง Florida Key และ Mississippi และHurricane Bonnie ปี 1988
ระดับ 2 (Category 2)
- ความเร็วลม 96-110 ไมล์ต่อชั่วโมง (154-177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ความสูงของคลื่น 1.8-2.4 เมตร
- ความกดอากาศ 965-979 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง น้อย
หลังคา ประตูหน้าต่างบ้านเรือนมีเสียหายบ้าง ก่อให้เกิดน้ำท่วมทำลายท่าเรือ
จนถึงอาจทำให้สมอเรือที่ไม่ได้ป้องกันไว้หลุดหรือขาดได้ ตัวอย่างของเฮอร์ริเคนระดับนี้ได้แก่ HurricaneIsabel ซึ่งขึ้นฝั่ง ใกล้ ๆ เกาะ Drum Inlet นอกชายฝั่งรัฐ N.Carolina ปี 2003 และ Hurricane Georgesขึ้นฝั่ง Florida Key และ Mississippi และ Hurricane Bonnie ปี 1988
ระดับ 3 (Category 3)
- ความเร็วลม 111-130 ไมล์ต่อชั่วโมง (178-209 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ความสูงของคลื่น 2.7-3.7 เมตร
- ความกดอากาศ 945-964 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง ปานกลาง
ทำลายโครงสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็กได้บ้าง โทรศัพท์บ้านถูกตัดขาด
แผงป้องกันพายุตามบ้านเรือนได้รับความเสียหาย อาจเกิดน้ำท่วมขังเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน เช่น HurricaneJeanne,Hurricane Ivan ขึ้นฝั่ง Florida ปี 2004 (ฟลอริด้าปี 2004 นี้โชคร้ายมาก ๆ
เพราะโดนเฮอร์ริเคนกระหน่ำหนัก ๆ ถึง 5 ลูกในเวลาที่ติด ๆ กัน) และมี Hurricane Roxanne ขึ้นฝั่งที่Florida และ Alabama ปี1995 และยังมี Hurricane Fran ขึ้นฝั่งที่ Yucatan Penninsula ของเม็กซิโกในปี1996 และที่ N.Carolina
ระดับ 4 (Category 4)
- ความเร็วลม 131-155 ไมล์ต่อชั่วโมง (210-249 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ความสูงของคลื่น 4.0-5.5 เมตร
- ความกดอากาศ 944-920 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง สูง
แผงป้องกันพายุเสียหายหนักยิ่งขึ้น หลังคาบ้านเรือนบางแห่งถูกทำลาย น้ำท่วมเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน เช่นHurricane Charley ขึ้นฝั่งที่ฟลอริด้า วันที่ 13 สิงหาคม 2004 และ Hurricane Dennisซึ่งกระหน่ำเกาะคิวบา และ Hurricane Andrew ขึ้นฝั่งที่ฟลอริด้าวันที่ 24 สิงหาคม 1992
สร้างความเสียหายมากที่สุดซึ่งความเสียหายมีมูลค่าถึง 26.5 Billions Dollars
ระดับ 5 (Category 5)
- ความเร็วมากว่า 155 ไมล์ต่อชั่วโมงขึ้นไป( 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ความสูงของคลื่นไม่น้อยกว่า 5.5 เมตร
- ความกดอากาศ น้อยกว่า 920 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง สูง
หลังคาบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมถูกทำลาย ตึกรามบางแห่งอาจถูกพัดถล่ม
เกิดน้ำท่วมขังปริมาณมากถึงขั้นทำลายข้าวของในชั้นล่างของบ้านเรือนใกล้ชายฝั่ง
และอาจต้องมีการประกาศให้ประชาชนในพื้นที่ทำการอพยพโดยด่วน เช่น The Labor Day Hurricane ขึ้นฝั่งที่ฟลอริด้าปี 1935 และ Hurricane Camille ขึ้นฝั่งที่มิสซิสซิปปี้ปี 1969

                       ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากพายุเขตร้อนเหล่านี้ ได้แก่ 
 
 - ลมพัดแรง (Violent Winds) 
 - คลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm Surges) เป็นอันตรายต่อเรือประมง
 - คลื่นพายุซัดฝั่งและฝนที่ตกอย่างหนัก (Torrential Rain) อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้
 - การพังทลายของพื้นที่ลาดเอียง ซึ่งอาจเกิดจากการกัดเซาะของพื้นที่ชายฝั่งทะเล
 ทำลายเส้นทางคมนาคม เสาไฟฟ้าล้ม อาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร และก่อให้เกิดเพลิงไหม้ตามมาได้
 ทำให้น้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคสกปรก
การเตรียมการและการป้องกัน

- ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
- สอบถามและแจ้งสภาวะอากาศผิดปกติ
- ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูง
- ปลูกสร้าง/ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เพื่อป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
- ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฝนฟ้าคะนอง
- ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ และอยู่กลางแจ้ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง
- เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ และวิทยุกระเป๋าหิ้วเพื่อติดตามข่าวสาร รวมทั้งมีการฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมความพร้อม และวางแผนการอพยพหากจำเป็น  
                                                    การตั้งชื่อพายุ    
                                       เหตุผลในการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน        ในปีหนึ่งๆ จะมีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นหลายลูก และหากมีพายุมากกว่า    1 ลูกเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันจะก่อให้เกิดความสับสน    จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้รู้ว่าการเรียกพายุ โดยใช้ชื่อสั้นๆ ในการเขียนหรือพูดติดต่อสื่อสารจะช่วยให้รวดเร็วและลดข้อผิดพลาดได้มากกว่าวิธีการที่ต้องยุ่งยากกับการระบุละติจูด–ลองจิจูด   ด้วยเหตุนี้จึงมีการตั้งชื่อพายุเพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และเพื่อลดความสับสนในการติดต่อสื่อสารระหว่างนักพยากรณ์อากาศกับสาธารณชน รวมทั้งเพื่อให้ง่ายต่อการเฝ้าระวังและเตือนภัย
                                        วิธีการตั้งชื่อพายุ
1. เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 นอต หรือ 62 กม./ชม. พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ
2. ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ที่คอลัมน์ที่หนึ่งตัวบนสุดก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1. เป็นตัวแรกของปี พายุนั้นจะมีชื่อว่า "Damrey (ดอมเรย์)"
3. เมื่อมีพายุตัวต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1. พายุนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมาในคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุตัวที่สองจะมีชื่อว่า "Longwang (หลงหวาง)"
4. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "Trami (ทรามี)" จะใช้ชื่อ "Kongrey (กองเรย์)"
5. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ที่ 5 ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "Saola (เซลลา)" จะใช้ชื่อ "Damrey (ดอมเรย์)"

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

9 อันดับทะเลที่มีชายหาดสวยที่สุดในโลก


“ทะเล” สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหน้าร้อน “ทะเลสวย” มักอยู่ไกล ไปไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินใจและความพยายามของมนุษย์ ยิ่งยาก ยิ่งท้าทาย ยิ่งสวย ยิ่งอยากเห็น ชายหาดสวย ในที่นี้หมายถึงสวยด้วยทัศนียภาพและอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ปราศจากสิ่งปรุงแต่งใดๆ คงรักษาไว้ซึ่งระบบนิเวศน์ .. แอบดีใจลึกๆ และก็แอบหวั่นใจลึกๆ ยิ่งมนุษย์ดั้นด้นเสาะแสวงหา ยิ่งทำให้กลัวว่าสมดุลทางธรรมชาติอาจเสียไป

Seychelles

seychelles
“หมู่เกาะเซเชลส์” หรือ “สาธารณรัฐเซเชลส์” สววรค์แห่งมหาสมุทรอินเดีย ประกอบด้วยเกาะถึง 115 เกาะ ห่างจากชายฝั่งแอฟริกาทางตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือของมาดากัสการ์ เหมาะเป็นที่เอนกายชาร์ตแบตสำหรับนักท่องเที่ยวที่หลงใหลการนอนเล่นชายหาดอาบแสงอาทิตย์

Cape Town, South Africa

capetown
“เคปทาวน์” เมืองเล็กๆ อยู่ทางตอนใต้ของแอฟริกาใต้ เป็นเมืองที่สวยที่สุดและมีเสน่ห์ที่สุดเมืองหนึ่งในโลก จุดเด่นของเมืองอยู่ที่ภูเขาลูกใหญ่กลางเมืองที่สามารถมองเห็นได้จากทุกสารทิศ รูปทรงแปลกตาคือ มีลักษณะเสมือนโต๊ะที่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงทำให้ภูเขาลูกนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า ภูเขาโต๊ะ หรือ Table Mountain

Coronado Beach, California

coronado-beach
นักโต้คลื่นมือสมัครเล่นต้องจัดมา Coronado Beach ชายหาดแถบแคลิฟอร์เนียซักครั้ง เพราะคลื่นถาโถมสม่ำเสมอ ถ้าได้งัดข้อกันทุกวันจนเอาอยู่ อาจเปลี่ยนท่านเป็นนักโต้คลื่นชั้นเซียนในเร็ววัน

Cumberland Island, Georgia

cumberland-island
เอกลักษณ์ของเกาะ Cumberland รัฐจอร์เจีย คือเหล่าเปลือกหอยน้อยใหญ่ที่คอยสร้างสีสันให้ชายหาด เริ่มแรกเกาะนี้แทบจะไม่มีคนรู้จัก จนกระทั่งมือดีสืบได้ว่า John F. Kennedy Jr. และ Carolyn Bessetteแอบมาจัดงานแต่งกันลับๆ ที่นี่ ในปี 1996

Fraser Island, Australia

fraser-island
ภาพน้ำทะเลใสซัดชายฝั่ง “Fraser Island” ออสเตรเลีย สะกดสายตาคนถวิลหาธรรมชาติได้ดีที่สุด เป็นเกาะที่มีหาดทรายกว้างใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ไม่ห่างจากชายฝั่งรัฐควีนส์แลนด์นัก

Mykonos Island, Greece

greece-mykonos
นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมักจะหลงมนต์เสน่ห์ในรูปลักษณ์แห่งสถาปัตยกรรม หาดทรายที่สวยงามตามธรรมชาติไร้ซึ่งการแต่งเติมจากฝีมือมนุษย์ และสีสันแห่งชีวิตชีวายามคำคืนของ “Mykonos Island” เกาะที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของประเทศกรีซ

อ่าวมาหยา ประเทศไทย

mayabay
หลังจาก “หมู่เกาะพีพี” ถูกคลื่นยักษ์สึนามิเข้าถาโถม “อ่าวมาหยา” ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหาดทรายขาวที่น่าสัมผัสที่สุดแห่งหนึ่ง ก็ได้รับการฟื้นฟูทางธรรมชาติให้กลับมาอุดมสมบูรณ์และสวยงามอีกครั้ง (อ่านต่อ)

Harbour Island, Bahamas

harbour-island
น้ำทะเลสะอาดใสบวกกับกระแสน้ำอุ่นจากอ่าว เกิดเป็นสมดุลทางธรรมชาติ ทำให้ Harbour Island กลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาพันธุ์ นักท่องเที่ยวที่รักการผจญภัยจะไม่พลาดการมาเยือน Bahamas

Ocracoke Island, North Carolina

ocracoke-island
หย่อมหญ้าเป็นจุดๆ ชี้ให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ใต้ผืนทรายของชายหาด Ocracoke Island ซึ่งเป็นที่ตั้งถิ่นฐานในยุคแรกๆ ของชาวยุโรป Ocracoke เป็นส่วนหนึ่งของ Outer Banks เกาะที่ต้องใช้ความพยายามในการดั้นด้นไปให้ถึง จึงเป็นที่ดึงดูดของนักแสวงหาธรรมชาติ

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การถนอมสายตาจากคอมพิวเตอร์



      ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะราคาที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ความสะดวกสบายในการใช้งาน การตอบสนองต่อผู้บริโภคด้านข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างครบวงจร ในทุก ๆ ด้าน มีระบบมัลติมีเดียที่มีความหลากหลาย ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งาน รวมทั้งมีโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่สามารถสื่อสารกันแบบออนไลน์ ระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายดาย แต่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหลายก็อย่าลืมคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพในการทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ๆ ที่มีผลต่อสรีระทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผลทางด้านสายตา ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนังของผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
      ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทางด้านสายตา และแนวทางการป้องกันที่เกิดจากการมองจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์นาน ๆ
จอภาพคอมพิวเตอร์แผ่รังสีได้หรือไม่
      จอภาพคอมพิวเตอร์สามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปในรูปของคลื่นแม่เหล็กและคลื่นไฟฟ้า ได้แก่ ไฟฟ้าสถิตย์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ความถี่ต่ำยิ่งยวด (extremely low frequency หรือ ELF) และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำมาก (very low frequency, VLF) นอกจากนี้แล้ว ยังมีรังสีไมโครเวฟ รังสีเหนือม่วง ซึ่งอาจจะมีอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การมองจอภาพที่มีแสงจ้า หรือแสงสะท้อนเป็นระยะเวลานาน อาจจะทำให้เกิดปัญหาอาการปวดตา สายตาล้า อาการปวดศีรษะ ซึ่งเกิดมาจกการบีบของกล้ามเนื้อตา จากการศึกษาระดับรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่นออกมาจากจอภาพคอมพิวเตอร์จะมีปริมาณลดลงตามระยะทางที่ห่างออกไป และควรอยู่ในระยะการมองระหว่าง 50-70 เซ็นติเมตร เพื่อให้รังสีที่แผ่ออกมาจากจอคอมพิวเตอร์ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
แนวทางในการถนอมสายตาและการป้องกัน
      1. ควรวางจอภาพในระดับต่ำกว่าสายตา
      2. ควรนั่งห่างจากจอภาพประมาณ 50-70 เซ็นติเมตร
   3. ไม่ควรอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานกว่า 40-60 นาที ควรจะเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เมื่อทำงานกับคอมพิวเตอร์ เช่น ควรกระพริบตา หลับตา หรือพักผ่อนสายตาโดยการมองสิ่งที่ไกลตาออกไป อย่างเช่น นอกหน้าต่างบริเวณที่มีต้นไม้
      4. ควรปรับแสงของจอภาพให้พอเหมาะ อย่าปรับให้แสงจ้าเกินไป
      5. ควรปรับขนาดของตัวหนังสือให้พอเหมาะ ดูสบายตา ไม่ควรเล็กเกินไป เช่น ปรับ resolution ขนาด 800 x 600 สำหรับจอภาพขนาด 14-15 นิ้ว เป็นต้น
      6. ไม่ควรวางคอมพิวเตอร์ไว้ใกล้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก เพราะอุปกรณ์เหล่านั้นจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของจอภาพ หรือทำให้จอภาพสั่นได้
      7. ไม่ควรวางจอภาพและคอมพิวเตอร์ในที่มีแสงแดดส่องถึง เพราะจะทำให้ต้องใช้สายตาในการเพ่งมองมากกว่าปกติ
บทสรุปท้าย
      อาการปวดตา ตาล้า หรืออาการเมื่อยล้าของนัยน์ตาคงจะเกิดกับผู้ที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์มาแล้วเกือบทุกคน ซึ่งอาจจะเกิดจากการจ้องมอง เพ่งมองตัวอักษรที่พิมพ์ออกทางจอภาพ ภาพนิ่ง แม้กระทั่งภาพเคลื่อนไหวล้วนแต่ส่งผลเสียกับนัยน์ตาของเรา ฉะนั้นเราควรถนอมนัยน์ตาของเราไว้ โดยการหลีกเลี่ยงต้นเหตุ และป้องกันโดยการหยุดพักสายตาและกระพริบตาบ่อย ๆ ในระหว่างการทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ควรตรวจเช็คสายตาปีละ 1 ครั้ง เพื่อวัดความดันตา ดูประสาทตา หรือความผิดปกติทางด้านสายตา ในการที่จะช่วยให้ดวงตาอยู่กับเราตราบนานเท่านาน

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เขื่อนในประเทศไทย


เขื่อน คือ สิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อปิดกั้นทางไหลของน้ำ จุดประสงค์เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อจุดประสงค์ที่ต้องการ เขื่อนมีการก่อสร้างหลายรูปแบบตามความเหมาะสมกับพื้นนั้นๆ และงบประมาณในการก่อสร้าง เช่น เขื่อนคอนกรีต เขื่อนหิน เขื่อนดิน
เขื่อน จำแนกตามวัตถุประสงค์การใช้งานได้แก่
เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้พลังน้ำไปเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก น้ำที่ปล่อยออกจากเขื่อนเป็นผลพลอยได้
เขื่อนชลประทาน เป็นเขื่อนที่กักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อจ่ายน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้งและเพื่อเพิ่มพื้นที่การเกษตรให้กว้างขวาง
เขื่อนเอนกประสงค์ สร้างเพื่อกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรแต่น้ำที่ปล่อยลงสู่ท้ายเขื่อนจะถูกนำไปใช้เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วย
ประโยชน์หลักของเขื่อน
1. กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ไม่ให้น้ำที่ได้จากธรรมชาติไหลออกสู่ทะเลโดยเปล่าประโยชน์
2. ชะลอการไหลของน้ำและลดปริมาณน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม
3. ใช้เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า
4. เพื่อบรรเทาภัยแล้งและเพิ่มพื้นที่การเกษตร
ประโยชน์รองหรือผลพลอยได้ของเขื่อน
1. เพื่อผักดันน้ำเค็มไม่ให้น้ำเค็มไหลเข้ามาไกลจนเกินไปจนเป็นผลเสียต่อการเกษตร
2. เป็นแหล่งประมงพื้นบ้าน
3. เป็นแหล่งท่องเที่ยวและใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
ปัญหา หรือผลกระทบจากการสร้างเขื่อน
1. สูญเสียพื้นที่ป่า
2. ที่ใดที่สร้างเขื่อน พื้นที่รอบๆ เขื่อนจะถูกบุกรุกเพื่อใช้เป็นพื้นที่การเกษตร
3. ผลกระทบต่อประชากรในพื้นที่ต้องอพยพย้ายที่อยู่ใหม่
ปัญหาจากการบริหารจัดการเขื่อน
ปัญหาหลักคือการบริหารจัดการน้ำที่เกิดจากการประเมินปริมาณฝนผิด วัตถุประสงค์หลักของเขื่อนคือกักเก็บน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม แต่บางครั้งเขื่อนเป็นตัวทำให้น้ำท่วมเสียเอง ปัญหาเกิดจากการกักเก็บน้ำไว้ในปริมาณที่มากในช่วงต้นฤดูฝน เมื่อถึงฝนใหญ่มาถึง หรือช่วงที่พายุเข้าทำให้เขื่อนมีปริมาณการรับน้ำที่น้อยทำให้ต้องปล่อยน้ำทิ้งแข่งกับปริมาณน้ำฝนในธรรมชาติ เป็นผลทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนต้องรับปริมาณน้ำเป็นสองเด้ง ทั้งปริมาณน้ำจากฝนที่เกิดจากพายุ และจากปริมาณน้ำที่เขื่อนปล่อยทิ้งเพื่อป้องกันน้ำล้นเขื่อน ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมหนักในบริเวณพื้นที่ใต้เขื่อน
แต่ในทางกลับกัน การปล่อยน้ำมากเกินไปเพื่อกันพื้นที่เขื่อนไว้รับน้ำ หากถึงเวลาแล้วฝนไม่ตก จนถึงปลายฝนแล้วยังไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เต็มเขื่อนก็จะมีปัญหา ทำให้ไม่มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูแล้ง