วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

10 วิธีแก้แฮงค์

1. หาซื้อสตรอว์เบอรี่สดเตรียมไว้ในตู้เย็น ตื่นมาก็
หยิบมากินสัก 8-10 ลูกก็ช่วยแก้อาการเมาค้างได้แล้ว 
หรือถ้าอยากจะฝึกคอให้แข็ง เตรียมพร้อมร่างกายกับ
การเฮอาปาร์ตี้ครั้งต่อไปให้นำสตรอว์เบอรี่สดมาคั้น
เอาแต่น้ำผสมกับเหล้าดื่มเข้าไป สูตรนี้เขาว่ากันว่า
ช่วยปรับสภาพร่างกายของคนที่อ่อนเปลี้ยเพลียแรง 
หรือคนที่เพิ่งฟื้นจากไข้ให้คืนสู่สภาพปกติเร็วขึ้นด้วย 

2. ถ้าสตรอว์เบอรี่หายาก ก็ซื้อช็อคโกแล็ตติดตู้เย็นไว้
แฮงค์ๆ เมื่อไหร่ก็เอามากิน ช็อกโกแล็ตมีผลต่อสมอง
ช่วยให้ตื่นตัวและช่วยให้กระฉับกระเฉง ที่สำคัญ
ช่วยแก้อาการแองค์โอเวอร์ ไม่ต้องเมาข้ามคืน

3. ถ้าเกิดอาการคลื่นเหียนอยากอาเจียน ลองชงน้ำ
ขิงดื่มดู เดี๋ยวนี้เขามีขิงผงสำเร็จรูปขายกัยเยอะแยะ
สะดวก ง่ายดาย

4. ถ้าโลกหมุน ปวดและวิงเวียนศีรษะ ลองดื่มน้ำ
เก็กฮวยเย็นชื่นใจสักแก้ว เก็กฮวยมีสรรพคุณช่วยลด
อาการปวดเวียนได้ แถมแก้กระหายได้อีกต่างหาก

5. น้ำกระเจี๊ยบ สมุนไพรของไทยเรานี่ก็ช่วยได้ ดื่ม
น้ำกระเจี๊ยบเย็นๆ รสเปรี้ยวชุ่มฉ่ำ ช่วยให้ร่า'กาย
สดชื่นได้ไม่ยาก 

6. แตงโมแช่เย็นฉ่ำ ก็มี ประโยชน์ สารสำคัญที่ชื่อ
CITRULLINE ในเนื้อ และในเม็ด มีสรรพคุณ
ช่วยแก้กระหายน้ำและ ถอนพิษสุรา   
7. ถ้าในตู้เย็นเลยก็ให้ ตรงรี่ไปที่ร้านขายยาหาซื้อ
ผลิตภัณฑ์เสริม อาหารมาลองกินดู 1 เม็ดหลัง
อาหาร อาการแฮงค์จะทุเลา

8. เรื่องกลิ่นก็สำคัญ บางคนดื่มหนักดื่นขึ้นมา
พร้อมกับกลิ่นละมุดโชยโดยเฉพาะออกมาจาก
ช่องปากแปรงฟันยังไงก็ไม่ช่วยให้ลมหายใจ
หอมสดชื่น ใบฝรั่งช่วยคุณได้ เด็ดใบฝรั่งสด
มาสัก 2-3 ใบ เคี้ยว เคี้ยวอย่าง มั่นใจ กลิ่นละมุด
ที่ว่าไม่มีมารบกวนให้หดหู่ใจ 

9. ร่างกายสดชื่นแล้ว แต่ใบหน้ากลับดูโทรม
ก็ไม่เข้าทีสำหรับใบหน้าที่ดูโทรมนั่นนะ 
ปรับให้เด้งซะ มีวิธีง่ายๆ
โดยใช้ 
- ABSOLUT VODKA 1/4 ถ้วย
- มะนาวสด สะอาด 1 ผล คั้นเอาแต่น้ำ
นำส่วนผสมทั้งสองมาผสมให้เข้ากัน แล้วใช้สำลีชุบ
นำมาซับผิวหน้า ลำคอ และเนินอก ปล่อยให้แห้ง 
โดยไม่ต้องซับซ้ำอีก ครางนี้ล่ะหน้าโทรมๆ จะดูเด้ง
ขึ้นทันใจ

10. หากบริเวณใต้ตาดูเหนื่อยล้า ลองใช้วิธีนี้ดู
นำช้อนที่เราใช้กินข้าวนี่แหละ 2 อันไปแช่ไว้ใน
ช่องแช่แข็งของตู้เย็นสักพัก จากนั้นก็นำมาวาง
ทาบไว้ตรงบริเวณตาทั้ง 2 ข้างประมาณ 5 นาที 
จะทาบที่ใบหน้าด้วยก็ได้ นอกจากตื่นจากอาการ
แฮงค์แล้ว ยังช่วยให้ใบหน้าสดชื่น และดวงตาสด
ใส ลดอาการบวมใต้ตาได้อีกด้วย

ข้อมูลจาก http://us.geocities.com/supamatk/p2.html

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

9 เรื่องดีๆ ของนักดื่มเบียร์


                 เบียร์ผลิตมาจากธัญพืช น้ำและ ยีสต์ ธัญพืชที่ใช้บ่อยที่สุดในการผลิตเบียร์ก็คือ บาร์เลย์และ วีท (อุตสาหกรรมเบียร์ราคาถูกจะใช้วุตถุดิบจาก ข้าวโพดและข้าว) ซึ่งอุดมด้วยคุณค่าทางอาหารที่ไม่ถูกทำลายระหว่างกระบวนการหมักและกรอง และคุณค่าวิตามินต่างๆ จากยีสต์ก็ยังคงอยู่กับผลิตภัณฑ์เมื่อมันออกสู่ท้องตลาด เนื่องจากเบียร์ไม่ต้องผ่านกระบวนการกรองและเปลี่ยนถ่ายภาชนะที่ใช้บรรจุมากเท่าไวน์
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับเบียร์

เรื่องที่ 1 : กันยายน ปี 1999 วารสาร ดิ นิวอิงแลนด์ เจอร์แนล ออฟ เมดิซีน ได้ลงบทความเกี่ยวกับผลของการดื่มเบียร์แต่พอประมาณจะช่วยลดอาการโรคหัวใจในกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ บทความยังกล่าวว่าการดื่มเบียร์เป็นประจำทุกวันหรืออาทิตย์ล่ะครั้งในขนาดเบียร์ 1 ขวด ไม่มีความแตกต่างในการลดความเสี่ยงของอาการหัวใจวาย

เรื่องที่ 2 : มหาวิทยาลัย เท็กซัส เซ้าท์เวสเทิร์น เมดิคัล เซ็นเตอร์ ใน ดัลลัส (พฤษภาคม 1999) รายงานว่าการดื่มเบียร์ในปริมาณพอประมาณจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจ 30-40% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มเลย (เบียร์มีสารโพลีฟีนอล ซึ่งเป็นแอนตี้อ๊อกซิเด็น เหมือนไวน์แดงและมีสารตัวนี้มากกว่าไวน์ขาวถึง 4-5 เท่า)

เรื่องที่ 3 : แอลกอฮอลมีผลในการช่วยเพิ่มคอลเรสตอรอลดี (HDL) ในเส้นเลือดและช่วยป้องกันการก่อตัวเป็นลิ่มของเลือด

เรื่องที่ 4 : เบียร์เต็มไปด้วยวิตามินบี 6 ซึ่งช่วยลดการก่อตัวของ กรดอมิโน โฮโมซิสตีน ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดของโรคหัวใจ คนที่ร่างกายมีกรดตัวนี้สูงจึงมีโอกาสเสี่ยงสูงในการเป็นโรคหัวใจ

เรื่องที่ 5 : ผลการศึกษาใหม่จาก TNO Nutrition and Food Research Institute in Utrecht กล่าวว่าการดื่มเบียร์ไม่ช่วยลดระดับ กรดอมิโน โฮโมซิสตีน แต่การดื่มไวน์และสุราประเภทอื่นจะทำให้กรดตัวนี้เพิ่มสูงถึง 10 %

เรื่องที่ 6 : เบียร์สามารเพิ่มวิตามินบี 6 ให้กับพลาสม่าในเลือดถึง 30 % ซึ่งเป็นสิ่งที่ไวน์และสุราประเภทอื่นไม่สามารถให้ได้

เรื่องที่ 7 : เบียร์ปราศจากทั้งไขมันและคอลเรสเตอรอล

เรื่องที่ 8 : เบียร์มีผลในการผ่อนคลายจึงช่วยลดอาการเครียดและช่วยให้นอนหลับดีขึ้น

เรื่องที่ 9 : เบียร์ให้ผลในแง่บวกแก่ผู้สูงอายุ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี หลับสบายและ ปัสสาวะคล่อง
แม้ว่ามันจะฟังดูดีเกินจริงเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของเบียร์ แต่นี่คือเรื่องจริง เมื่อนับถอยหลังไปยังครั้งอียิปต์โบราณที่ใช้เบียร์เป็นในการรักษาโรคบางชนิด

ปัญหาอย่างเดียวที่เราพบเกี่ยวกับเบียร์ก็คือการที่มีคนไม่รับผิดชอบบางคนที่ดื่มเบียร์มากเกินควรจนทำให้เกิดอุบัติเหตุทั้งต่อตนเองและผู้อื่น รวมทั้งการดื่มมากเกินขนาดจนกลายเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
ความจริงปัญหาพวกนี้สามารถกำจัดได้ถ้ามีการดื่มแต่พอประมาณและตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ซึ่งความรับผิดชอบนี้จะทำให้คุณสนุกมากยิ่งขึ้นกับการดื่มเบียร์เย็น ๆ กับเพื่อนๆ
จริง ๆ แล้วเบียร์คืออะไร

โดยเฉลี่ยเบียร์ประกอบด้วย
คอลเรสเตอรอล 0 มิลลิกรัม
ไขมัน 0 กรัม
คาร์โบไฮเดรด 13 กรัม
โซเดียม 25 มิลลิกรัม
โปรตีน, แคลเซียม, โปแทสเซียม, ฟอสฟอรัส และวิตามิน บี, บี 2 และ บี 6
แอลกอฮอล

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

10 อาหารอันตราย ที่ไม่คาดคิด

อาหารที่คุณรับประทานในชีวิตประจำวัน บางทีคุณอาจไม่คิดว่า มันมีอันตรายร้ายแรงขนาดปลิดชีพคุณได้ เพราะสามารถหาซื้อทานได้ตามท้องตลาดทั่วไป วันนี้ ไทยรัฐออนไลน์ จึงรวบรวมผลการศึกษาวิจัยจาก สถาบันกุมารเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับอาหารที่เป็นภัยต่อร่างกายมากที่สุด และอาจร้ายแรงถึงชีวิต จำนวน 10  ชนิด ดังต่อไปนี้...

อันดับ 10 :  "เห็ด"

อาจเป็นที่น่ากังขาว่าเห็ดเป็นอันตรายถึงชีวิตได้จริงหรือไม่
อาจเป็น ที่น่ากังขาว่าเห็ดเป็นอันตรายถึงชีวิตได้จริงหรือไม่
อาจเป็นที่น่ากังขา ว่าเห็ดเป็นอันตรายถึงชีวิตได้จริงหรือไม่ นอกจากทำให้เกิดอาการทางประสาท หรือประสาทหลอน แต่คำตอบที่ถูกต้องคือ "ใช่" เห็ดสามารถปลิดชีพได้ เช่นเห็ดระโงกหิน (Death Cap) และ เห็ดไข่เป็ด (Destroying Angel) ที่มีพิษร้ายแรง แม้จะมีข่าวอยู่บ่อยครั้งว่า เสียชีวิตเพราะทานเห็ด แต่ทุกวันนี้ยังคงมีคนนิยมเก็บเห็ดตามป่ามาปรุงอาหาร โดยไม่ทราบว่า มีพิษหรือไม่ ดังนั้นการเลี่ยงรับประทานเห็ดที่หน้าตาไม่คุ้นชิน หรือไม่รู้จักจึงปลอดภัยที่สุด

อันดับ 9 : "กาแฟ"

ปัญหาด้านการนอนหลับ และปัญหาฟันเหลือง  จากการดื่มกาแฟเป็นประจำสม่ำเสมอ
ปัญหาด้านการนอนหลับ และปัญหาฟันเหลือง จากการดื่มกาแฟเป็นประจำสม่ำเสมอ
นอกเหนือจาก ความเป็นไปได้ของอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หรือใจสั่น ปัญหาด้านการนอนหลับ และปัญหาฟันเหลือง จากการดื่มกาแฟเป็นประจำสม่ำเสมอ กาแฟยังสร้างปัญหาต่อร่างกายได้ เมื่อความร้อนเกินมาตรฐาน โดยกาแฟสามารถกร่อนผิวหนังได้เป็นอย่างดี อาจดูเหมือนเรื่องตลก ตัวอย่างเกิดขึ้นเมื่อปี 1992 ที่ร้านฟาสฟู้ดชื่อดัง McDonald เมื่อคุณยายวัย 79 ปี ดื่มกาแฟความร้อนจัดราว 170 องศา ทำให้ทวารของคุณยายถูกทำลาย จึงฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย เป็นมูลค่า 2.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับแต่นั้นเป็นต้นมา  McDonald  จึงมีมาตรการจำกัดอุณหภูมิของกาแฟไม่ให้สูงเกินความเหมาะสม

อันดับ 8 : "มันสำปะหลัง"

พืชชนิดนี้จะส่งผลกระทบร้ายแรง  หากมีวิธีและขั้นตอนการเตรียมที่ไม่ถูกต้อง
พืชชนิดนี้จะส่งผลกระทบร้าย แรง หากมีวิธีและขั้นตอนการเตรียมที่ไม่ถูกต้อง
มันสำปะหลัง มักถูกนำมาผลิตในอาหารหลากหลายรูปแบบ แต่พืชชนิดนี้จะส่งผลกระทบร้ายแรง หากมีวิธีและขั้นตอนการเตรียมที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ในมันสำปะหลังยังมีสารไซยาไนด์แฝงอยู่ ซึ่งหากได้รับในปริมาณมากอาจส่งผลถึงชีวิตเช่นกัน อย่างไรก็ดี ขนมที่ทำจากมันสำปะหลัง และได้รับความนิยมมากในปัจจุบันคือ พุดดิ้ง กระทั่งกลุ่มมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งสหรัฐฯ ออกโรงเตือนประชาชนที่อ่อนไหวง่ายต่อยางของพืช ให้เลี่ยงไปรับประทานของทานเล่นประเภทอื่นแทน

อันดับ 7 : "ทูน่า"

แทบไม่คาดคิดเมื่อปลาตัวเล็กตัวน้อยจำพวกทูน่า  จะถูกประกาศเป็นอาหารสุดยอดอันตราย
แทบไม่คาดคิดเมื่อปลาตัวเล็กตัวน้อยจำพวก ทูน่า จะถูกประกาศเป็นอาหารสุดยอดอันตราย
แทบไม่คาดคิดเมื่อปลาตัวเล็กตัวน้อยจำพวกทูน่า อาหารยอดนิยมอีกชนิดหนึ่งในสังคมปัจจุบัน จะถูกประกาศเป็นอาหารสุดยอดอันตราย ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศเตือนสตรีมีครรภ์ และเด็ก ให้หลีกเลี่ยง หรือรับประทานในปริมาณแต่น้อย เนื่องจากทูน่า คือปลาตัวเล็กหลากหลายสายพันธุ์ และมีปริมาณสารปรอทสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการคลอดบุตรสำหรับคุณแม่มีครรภ์ และอาจทำลายระบบประสาทสำหรับเด็กที่กำลังมีพัฒนาการ

อันดับ 6 : "รูบาร์บ"

รูบาร์บช่วยต้านมะเร็งได้ แต่ใบขนาดใหญ่ของมันมีพิษถึงชีวิต
รูบาร์ บช่วยต้านมะเร็งได้ แต่ใบขนาดใหญ่ของมันมีพิษถึงชีวิต
แม้จะมีงานวิจัยเผยว่า รูบาร์บช่วยต้านมะเร็งได้ แต่จากประวัติศาสตร์การแพทย์ระบุว่า ใบขนาดใหญ่ของรูบาร์บนั้นมีพิษถึงชีวิต แม้จะรับประทานแบบดิบหรือนำมาปรุงจนสุกก็ตาม แต่ทั้งนี้ส่วนที่สามารถนำมารับประทานได้นั้นคือบริเวณก้านของรูบาร์บ

อันดับ 5 : "ผักใบเขียว"

เป็นที่น่าตกใจ เมื่ออาหารจำพวกผักใบเขียว  ตกอยู่ในแบล็กลิสต์ด้วยเช่นกัน
เป็นที่น่าตกใจ เมื่ออาหารจำพวกผักใบเขียว ตกอยู่ในแบล็กลิสต์ด้วยเช่นกัน
เป็นที่น่าตกใจ เมื่ออาหารจำพวกผักใบเขียว ที่แลดูเป็นประโยชน์ต่อร่างกายจะตกอยู่ในแบล็กลิสต์ด้วยเช่นกัน โดยเมื่อปี 2009 ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์สาธารณะ ระบุชื่อผักใบเขียวทั้งหลาย อาทิ ผักโขม ผักสลัด กะหล่ำปลี ผักชีฝรั่ง และผักคะน้า ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพผู้บริโภคมากที่สุด ซึ่งเมื่อปีที่ผานมาในสหรัฐฯ มีผู้ป่วยจากผักดังกล่าว 240 กรณี ซึ่งส่วนใหญ่รับประทานอาหารตามร้าน หรือภัตตาคาร ส่วนการติดเชื้อ เชื่อว่าเกิดจากการละเลยความสะอาด ทั้งความสะอาดของมือผู้ปรุงอาหาร และความสะอาดของผักที่ล้าง โดยเชื้อโรคส่วนใหญ่ที่มากับผักชนิดดังกล่าว คือ ไวรัสไนโร ซึ่งติดมากับผักเมื่อได้รับการสัมผัสจากสัตว์ป่า หรือน้ำที่ไม่สะอาด

อันดับ 4 : "ถั่วลิสง"

มักมีผู้เสียชีวิตจากการรับประทานถั่วลิสง  เนื่องจากเป็นโรคภูมิแพ้ถั่ว
มักมีผู้เสียชีวิตจากการรับประทานถั่วลิสง เนื่องจากเป็นโรคภูมิแพ้ถั่ว
สมาคมโรคภูมิแพ้และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐฯ เปิดเผยว่า  มักมีผู้เสียชีวิตจากการรับประทานถั่วลิสง เนื่องจากเป็นโรคภูมิแพ้ถั่ว ซึ่งปัจุจบันมีตัวเลขผู้มีอาการแพ้ถั่วเพิ่มขึ้นจากเดิม แต่นับว่ายังไม่สูงมาก คิดเป็นเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด อย่างไรก็ตามจำนวนเด็กเสียชีวิตด้วยโรคแพ้ถั่ว เพิ่มขึ้นระหว่าง ปี 1997 -2002 ราว 2 เท่า

อันดับ 3 : "ผลแอคกี"

ผลแอคกี หากไม่รู้วิธีรับประทานจะเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ อาเจียร  และอาจร้ายแรงถึงแก่ชีวิต
ผลแอคกี หากไม่รู้วิธีรับประทานจะเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ อาเจียร และอาจร้ายแรงถึงแก่ชีวิต
ผลแอคกี (Ackee) แต่เดิมเป็นผลไม้พื้นเมืองบริเวณพื้นที่แถบแอฟริกาตะวันตก แต่กลายมาเป็นผลไม้ประจำชาติจาไมก้า ราวปี 1788 สำหรับผู้ไม่รู้วิธีรับประทานผลแอคกีที่ถูกต้อง อาจเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ อาเจียร และอาจร้ายแรงถึงแก่ชีวิต ทั้งนี้ผลแอคกีดิบมีสารพิษที่ชื่อว่า Hypoglycin แฝงอยู่ ดังนั้นหากจะนำมารับประทานต้องรอให้ผลสุกจนกลายเป็นสีแดง และผลิออกจนเห็นเม็ดในสีดำเองตามธรรมชาติเสียก่อน สำหรับการรับประทานนั้น ชาวจาไมก้ามักทานเคียงกับปลาคอต

อันดับ 2 : "ปลาปักเป้า"

นับเป็นอาหารจานหรู แต่มีพิษร้ายแรง ที่ชื่อว่า สารเตโตรโดทอกซิน  คร่าชีวิตนักชิมมามาก
นับเป็นอาหารจานหรู แต่มีพิษร้ายแรง ที่ชื่อว่า สารเตโตรโดทอกซิน คร่าชีวิตนักชิมมามาก
เสิร์ฟโดยการแร่เป็นชิ้นบาง ๆ โดยเชฟมืออาชีพผู้เชี่ยวชาญ ปลาปักเป้านับเป็นอาหารจานหรู แต่มีพิษร้ายแรง ที่ชื่อว่า สารเตโตรโดทอกซิน (Tetrodotoxin) คร่าชีวิตนักชิมมากกว่าสารไซยาไนด์ หรือสารหนู (Cyanide)ในปลาปักเป้า 1 ตัวจะมีต่อมพิษอยู่ 1 ต่อม มีขนาดเล็กกว่าหัวเข็ม ผู้ที่สามารถเสิร์ฟอาหารจานนี้ได้ ต้องฝึกฝนและเรียนรู้นานกว่า 3 ปี เพราะพิษในปลาเพียง 1 ตัว สามารถปลิดชีพมนุษย์ได้มากถึง 30 คน ด้วยความประณีตและพิถีพิถันในทุกขั้นตอนจึงทำให้ปลาปักเป้ามีมูลค่าแพงราว 200 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 6,500 บาท) ต่อจาน แต่อย่างไรก็ตามนักกินในประเทศญี่ปุ่นยังคงนิยมสั่งปลาปักเป้ามารับประทาน มากกว่า 10,000 ตันต่อปี และมีมากกว่า 40 สายพันธุ์ให้เลือกลิ้มรส

อันดับ 1 : "ฮอทดอก"

อาหารชนิดนี้ส่งผลอันตรายทั้งต่อเด็กและผู้ใหญ่  เพราะเนื้อที่นำมาผลิตมักมีคุณภาพต่ำ
อาหารชนิดนี้ส่งผลอันตรายทั้ง ต่อเด็กและ ผู้ใหญ่ เพราะเนื้อที่นำมาผลิตมักมีคุณภาพต่ำ
สถาบันกุมารเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา ระบุว่า อาหารชนิดนี้ส่งผลอันตรายทั้งต่อเด็กและผู้ใหญ่ เพราะ เนื้อที่นำมาผลิตมักมีคุณภาพต่ำ หรือเป็นการนำเศษเนื้อที่เหลือจากโรงฆ่าสัตว์มาบดและทำเป็นไส้กรอก จากรายงานบอกว่า 17 เปอร์เซ็นต์ของเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี มักเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจเมื่อบริโภคอาหารประเภทดังกล่าว สำหรับสาเหตุที่อยู่ในรายการอาหารที่อันตรายที่สุดเป็นเพราะ ฮอทดอกเป็นอาหารที่นิยมรับประทานในชีวิตประจำวันมากที่สุด โดยปราศจากการหลีกเลี่ยง หรือคำนึงถึงอันตรายที่แฝงอยู่.

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนวโน้มการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย

แผ่นดินไหวในประเทศไทย
               ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียน (Eurasian Plate) ซึ่งล้อมรอบด้วย
แผ่นเปลือกโลกอีก 2 แผ่น คือแผ่นเปลือกโลกอินเดีย-ออสเตรเลีย (Indian-Australian Plate) 
และแผ่นมหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Plate) ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวอยู่ในเขตที่ถือว่าค่อนข้างปลอด
แผ่นดินไหวพอสมควร แต่จากการบันทึกทางประวัติศาสตร์ ก็เคยปรากฏเหตุแผ่นดินไหวที่ส่ง
ผลกระทบต่อพื้นที่ในประเทศไทยอยู่บ้างเล็กน้อย
Likelihood_of_Earthquakes_in_Thailand-001
แผ่นเปลือกโลกอินเดีย-ออสเตรเลีย มุดเข้าหาแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนด้วยอัตรา 70 มิลลิเมตรต่อปี

           ความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหว

               กรมทรัพยากรธรณีได้สำรวจข้อมูลรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย โดยแบ่งเป็นกลุ่มรอยเลื่อน 14 กลุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ 22 จังหวัด (มีนาคม 2555)
Likelihood_of_Earthquakes_in_Thailand-002
Likelihood_of_Earthquakes_in_Thailand-003
ที่มา: สื่อเผยแพร่ความรู้ธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี (http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=6814)

           ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในประเทศไทย
               รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา จารุศิริ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
               ที่มา: หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
                         หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

               “รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ย้ำว่าภูเก็ตไม่จมทะเลง่ายๆ เนื่องจากตั้งอยู่บนฐานหินแข็งอายุกว่า100 ล้านปี ซึ่งรองรับแผ่นดินไหวได้มาก ส่วนเหตุแผ่นดินไหวตามมาหรืออาฟเตอร์ช็อกที่ดูเหมือนเกิดขึ้นบ่อยนั้นเป็นปรากฏการณ์ปกติหลังแผ่นดินไหว เพียงแต่เกิดบริเวณเปลือกโลกที่ค่อนข้างตื้นจึงรับรู้ได้มาก
               โดยก่อนหน้านี้รอยเลื่อนในประเทศไทยที่ได้รับความสนใจที่สุดคือรอยเลื่อนแม่จันที่พาดผ่านเชียงรายและเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นรอยเลื่อนที่มีพลังมากที่สุดและเกิดแผ่นดินไหวใหญ่จากรอยเลื่อนละแวกใกล้เคียงแล้วคือรอยเลื่อนในมณฑลยูนนานของจีนที่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่เมื่อปี2552 และรอยเลื่อนน้ำมาในลาวและพม่าที่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่เมื่อปี2554 ที่ผ่านมา แต่รอยเลื่อนแม่จันยังไม่ขยับและกำลังสะสมพลังงานอยู่ ซึ่งเมื่อ1,000 กว่าปีที่แล้วเคยแผลงฤทธิ์ และทำให้นครโยนกในอดีตต้องล่มสลาย ซึ่งมีการบันทึกไว้ในพงศาวดาร
               อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางที่ภูเก็ตทำให้รอยเลื่อน2 แห่งในภาคใต้คือ รอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยได้รับความสนใจมากขึ้นและมีความเป็นไปได้ว่ามีแนวรอยเลื่อนใหม่ที่ยังไม่รู้จักซึ่งทางกรมทรัพยากรธรณีกำลังส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปตรวจสอบ แต่สิ่งที่ รศ.ดร.ปัญญาห่วงอยู่ตอนนี้คือการสะสมพลังงานของรอยเลื่อนทั้งสองแห่งซึ่งตอนนี้ยังไม่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขึ้นบนบก
               จากหลักฐานทางธรณีวิทยาระบุว่า เคยเกิดแผ่นดินไหวบนบก 6-7 ริกเตอร์จากรอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยเมื่อ2,000 ปีที่แล้วและ 4,000 ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนี้ "ใกล้คาบอุบัติซ้ำ" ของการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่แล้ว แต่ยังไม่มีแผ่นดินไหวใหญ่เกิดขึ้น ซึ่ง รศ.ดร.ปัญญากล่าวว่าไม่ชอบนัก เพราะแสดงให้เห็นว่ารอยเลื่อนกำลังสะสมพลังงานอยู่และไม่รู้ว่าปลดปล่อยออกมาเมื่อไหร่ซึ่งไม่มีใครระบุได้”

               “รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา จารุศิริ จากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯ เปิดเผยว่า หลังจากเกิดแผ่นดินไหวที่ จ.ภูเก็ต แม้จะเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก และไม่สามารถทำให้เกาะภูเก็ตจมได้ตามคำทำนายหรือข่าวลือต่าง ๆ แต่นักวิชาการไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยหันมาให้วามสนใจกับรอยเลื่อนในภาคใต้มากขึ้น
               รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญากล่าวต่อว่า จากการศึกษาพบว่ารอยเลื่อนที่ควรระวังหรือเฝ้าจับตา นอกจากรอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนขนาดใหญ่ที่พาดผ่านภาคเหนือของไทยบริเวณ จ.เชียงราย และอยู่ระหว่างการสะสมพลังแล้วนั้น ในภาคใต้ยังมีรอยเลื่อนที่น่าจับตาคือ "รอยเลื่อนระนอง" ซึ่งถือเป็นรอยเลื่อนที่มีพลังนอกชายฝั่ง สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5-6 ริคเตอร์ได้ เพียงแต่ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการตรวจพบว่าทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่บนพื้นดิน จะมีแต่การเกิดนอกชายฝั่งหรือในทะเลและจัดเป็นแผ่นดินไหวในแบบที่ไม่ทำให้เกิดสึนามิได้
               รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา ระบุอีกว่า ดังนั้นจุดที่น่าเป็นห่วงคือรอยเลื่อนระนอง ที่อยู่ในส่วนของพื้นดินที่คาดกันว่าอยู่ระหว่างการสะสมพลัง ทั้งนี้เคยมีหลักฐานทางธรณีวิทยาว่า รอยเลื่อนในภาคใต้อย่างเช่น รอยเลื่อนระนอง หรือรอยเลื่อนคลองมะลุ่ย เคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวบนพื้นดินขนาด 6-7 ริคเตอร์เมื่อประมาณ 2,000 ปีที่แล้ว ดังนั้นการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่บนพื้นดินจากรอยเลื่อนดังกล่าว จึงอาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้นับจากวันนี้เป็นต้นไป ซึ่งไม่มีใครสามารถคาดการณ์หรือบอกล่วงหน้าได้”

               ศาสตราจารย์ ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน จุฬาฯ
               ที่มา:  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

               “ศาสตราจารย์ ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน จุฬาฯ เปิดเผยว่า กรณีแผ่นดินไหวในฝั่งอันดามันและที่เกาะภูเก็ต ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก จนเกิดกระแสข่าวลือต่าง ๆ นักวิชาการจึงจำเป็นต้องออกมาให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชน ทั้งนี้จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่เมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา หลายคนคาดว่าเป็นผลมาจากแผ่นดินไหวขนาดยักษ์ 9.1 ริคเตอร์เมื่อปี 2547 รวมถึงส่งผลต่อการเกิดแผ่นดินไหวที่บ่อยและรุนแรงมากขึ้นนั้น เนื่องจากรอยเลื่อนต่าง ๆ อยู่ห่างจากกันมากกว่า 100 กิโลเมตร ดังนั้นไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันและมีโอกาสเกิดจากผลกระทบนี้น้อยมาก อย่างไรก็ดีจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยต่อไป ส่วนการที่จะทำให้รอยเลื่อนในประเทศไทยมุดตัวนั้นเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากมีการเลื่อนตัวในแนวราบเป็นหลัก
               ศาสตราจารย์ ดร.ปณิธานระบุต่อว่า สำหรับกรณีแผ่นดินไหวที่เกาะภูเก็ต สามารถยืนยันได้ว่าไม่จมอย่างแน่นอน เพราะเกิดจากรอยเลื่อนขนาดเล็ก แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดการขยับในรูปแบบใด และรอยเลื่อนเป็นไปในลักษณะไหน เพราะส่วนใหญ่รอยเลื่อนที่พาดผ่าน จ.ภูเก็ต มักจะเป็นรอยเลื่อนที่ตายแล้วหรือไหวตัวครั้งสุดท้ายเมื่อ 10,000 ปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันการเกิดแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะเกิดในหินแข็งที่มีอายุมากกว่า 100 ล้านปี หากจะส่งผลกระทบรุนแรงถึงขั้นจม ต้องมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มากกว่า 9 ริคเตอร์ซึ่งเป็นไปได้ยาก และเกาะภูเก็ตไม่ได้อยู่ในแนวมุดตัวของโลกด้วย ส่วนการจมหรือทรุดตัวของภูเก็ตในปัจจุบัน ที่พบว่ามีประมาณ 1 ซม.ต่อปีนั้นถือเป็นเรื่องปกติทางธรณีวิทยา ที่พื้นดินจะมีการแกว่งตัว ดีดขึ้นลงตามคาบเวลาต่าง ๆ
               ศาสตราจารย์ ดร.ปณิธานกล่าวอีกว่า การเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งแผ่นดินไหวที่จะมีผลถึงขั้นทำให้อาคารถล่ม จะต้องมีความรุนแรงขนาด 5.5 ริคเตอร์ขึ้นไปและมีปัจจัยต่าง ๆ สนับสนุน ที่ผ่านมาในประเทศไทยพบเหตุการณ์ดังกล่าวได้น้อยมาก หากขนาดแผ่นดินไหวน้อยกว่า 5 ริคเตอร์ เช่นที่ภูเก็ต อาคารจะสามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนได้โดยไม่พังทลาย หรือเป็นอันตรายต่อโครงสร้างหลัก ยกเว้นอาคารที่ไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้กรมทรัพยากรธรณี ควรเร่งการจัดทำแผนที่รอยเลื่อนที่มีพลังของไทย โดยแยกเป็นรายจังหวัด เพื่อให้ประชาชนสามารถประเมินความเสี่ยง และเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา”

               รศ.ดร.อมร พิมานมาศ ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรม โครงสร้างและสะพาน สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)
               ที่มา: จดหมายข่าว IPRB ฉบับที่ 24 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554

               1. ทุกวันนี้แผ่นดินไหวทั่วโลกเกิดถี่ขี้นจริงหรือไม่?
                    หากดูจากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลกย้อนหลังไป 10 ปี จะพบว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นทั่วโลกนับพันครั้งต่อวัน แผ่นดินไหวบางครั้งมีขนาดเล็กไม่เกิน 2-3 ริกเตอร์ คนไม่รู้สึกแต่สามารถตรวจวัดโดยใช้เครื่องมือ แผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่พอที่จะสร้างความเสียหายให้แก่อาคารบ้านเรือนมักมีขนาดเกิน 5 ริกเตอร์ขึ้นไปและเกิดในที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่มาก ซึ่งตามสถิติแล้ว แผ่นดินไหวขนาด 5.0-5.9 ริกเตอร์จะเกิดขึ้นประมาณ 1,500 ครั้งต่อปี ขนาด 6.0-6.9 ริกเตอร์เกิดขึ้นประมาณ 150 ครั้งต่อปี ขนาด 7.0-7.9 ริกเตอร์เกิดขึ้นประมาณ 15 ครั้งต่อปี และขนาด 8.0 ริกเตอร์ขึ้นไปเกิดขึ้นประมาณ 1 ครั้งต่อปี ซึ่งถ้าดูตามสถิตินี้แล้วก็ยังไม่พบสัญญาณบ่งชี้ว่าการเกิดแผ่นดินไหวจะมีความถี่มากขึ้นผิดปกติแต่อย่างใด
               2. สถิติการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นอย่างไร?
                    สำหรับประเทศไทยนั้นมีรอยเลื่อนที่มีศักยภาพที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอยู่หลายที่ โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ อย่างไรก็ตาม ศักยภาพที่จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวของรอยเลื่อนในประเทศไทยนั้นยังไม่รุนแรงเท่ากับบริเวณพื้นที่ที่เป็นรอยต่อของเปลือกโลกหรือวงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) ซึ่งจากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่ผ่านมาเกือบ 40 ปีเรามีแผ่นดินไหวขนาดกลาง (5.0-5.9 ริกเตอร์) เกิดขึ้น 8 ครั้ง หรือเฉลี่ย 1 ครั้งในรอบ 5 ปี แบ่งเป็นภาคเหนือ 5 ครั้ง ภาคตะวันตก 3 ครั้ง โดยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในบ้านเราส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 6.0 ริกเตอร์ แผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่า 6.0 ริกเตอร์จะเกิดนอกประเทศทั้งนั้น แต่แม้แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นในระยะไกล เช่น เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย พม่า ทว่าในพื้นที่ที่เป็นชั้นดินอ่อนที่อยู่ห่างไกลจากจุดเกิดแผ่นดินไหว เช่น กรุงเทพฯ ก็สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน
               3. มีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่จะทำให้เกิดอันตรายจากแผ่นดินไหว?
               ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายจากแผ่นดินไหว ได้แก่
                    1.พื้นที่นั้นอยู่ใกล้ๆ รอยต่อของเปลือกโลกหรือวงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) หรือรอยเลื่อนที่มีศักยภาพที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวหรือไม่
                    2.พื้นที่นั้นตั้งอยู่บนชั้นดินอ่อนหรือไม่
                    3.โครงสร้างของอาคารบ้านเรือนในพื้นที่นั้นออกแบบให้รองรับแผ่นดินไหวหรือไม่ ซึ่งแผ่นดินไหวขนาดกลางหากเกิดขึ้นก็ทำอันตรายได้ถ้าเกิดขึ้นในที่ชุมชนที่มีอาคารบ้านเรือนตั้งอยู่บนชั้นดินอ่อน และอาคารบ้านเรือนในพื้นที่นั้นไม่ได้ออกแบบเพื่อป้องกันภัยแผ่นดินไหว
                    4. พื้นที่และบริเวณใดบ้างในประเทศไทยที่ถือว่าเป็นที่ที่ต้องเฝ้าระวังภัยแผ่นดินไหว?
                         สำหรับพื้นที่และบริเวณเฝ้าระวังภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทยเรามีดังนี้ คือ
                         1.พื้นที่หรือบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่ กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลา และสุราษฎร์ธานี
                         2.พื้นที่หรือบริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกล ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
                         3.พื้นที่หรือบริเวณที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่ กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
                    5. อาคารใดบ้างในประเทศไทยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายเมื่อเกิดแผ่นดินไหว?
                         อาคารที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายได้เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ได้แก่
                         1. ตึกแถวที่มีเสาขนาดเล็กเกินไปและมีคานขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอาคารสูงไม่เกิน 4-5 ชั้น
                         2. อาคารพื้นท้องเรียบไร้คานรองรับ เช่น อาคารจอดรถ อาคารสำนักงานบางแห่ง
                         3. อาคารสูงที่มีดีไซน์แปลกๆ รูปทรงซับซ้อน มีส่วนเว้า ส่วนโค้ง ส่วนยื่น หรือลูกเล่นมากๆ
                         4. อาคารหรือบ้านเดี่ยวที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป เช่น ใช้คาน หรือเสาสำเร็จรูปมาต่อกัน
                         5. อาคารที่ทำการต่อเติมและทำทางเดินเชื่อมต่อกัน
                         6. อาคารที่ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน เช่น อาคารทำจากอิฐไม่เสริมเหล็ก
                         7. อาคารที่อยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกของประเทศไทย มีความเสี่ยงทุกความสูง ส่วนอาคารในกรุงเทพฯ ที่มีความสูงตั้งแต่ 5-6 ชั้น และอาคารเตี้ยที่ก่อสร้างไม่ดี ไม่มีมาตรฐาน ถือว่ามีความเสี่ยง
                         อาคารที่สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมาหลังจากที่มีกฎกระทรวงปี พ.ศ. 2550 (กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550) ออกมา หากออกแบบและก่อสร้างอาคารตามกฎหมายนี้ก็จะทำให้อาคารมีความปลอดภัย แต่สำหรับอาคารเก่าจำนวนมากที่ก่อสร้างก่อนปี พ.ศ. 2550 ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบให้ต้านทานแผ่นดินไหว อาคารเหล่านี้ก็จะมีความเสี่ยงและควรต้องมีการวิเคราะห์และหาวิธีเสริมความมั่นคงให้อาคารสามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ในระดับเดียวกับอาคารที่ก่อสร้างขึ้นมาใหม่ตามกฎกระทรวง”
 

ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุไคตั๊ก 17-19 ส.ค.นี้


ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุไคตั๊ก 17-19 ส.ค.นี้

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2555 เวลา 08:02 น.
เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (17 ส.ค.55) พายุไต้ฝุ่น “ไคตั๊ก” (KAI-TAK) มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 200 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกของเกาะไหหลำ ประเทศจีน หรือที่ละติจูด 20.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 112.3 องศาตะวันออกมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกค่อนทางเหนือด้วยความเร็วประมาณ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเหนือเกาะไหหลำ ประเทศจีน ในช่วงเช้าวันนี้ (17 ส.ค.55) ซึ่งจะส่งผลทำให้ในช่วงวันที่ 17-19 ส.ค. 2555 ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือในระยะ 1-2 วันนี้ไว้ด้วย

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง  บริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน และตาก  อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ  และอุบลราชธานี  อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง  บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี  อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง  บริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด  อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส  ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
 

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช  อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
 

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง  บริเวณจังหวัดระนอง และพังงา  อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส  ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
 

กทม.และปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง  อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ฝนดาวตกในปี 2555





ดาวตกเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เรามีโอกาสเห็นดาวตกได้ทุกคืน แสงของดาวตกเกิดจากการที่สะเก็ดดาว (meteoroid) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของดาวหางและดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนเข้าสู่บรรยากาศโลก หากสังเกตจากสถานที่ซึ่งท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีเมฆหมอก แสงจันทร์ และแสงไฟฟ้ารบกวน โดยทั่วไปสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้าได้เฉลี่ยราว 6 ดวงต่อชั่วโมง ดาวตกที่สว่างมาก ๆ เรียกว่าลูกไฟ (fireball)
เส้นทางที่สะเก็ดดาวจำนวนมากเคลื่อนที่เป็นสายไปในแนวเดียวกันในอวกาศเรียกว่าธารสะเก็ดดาว (meteoroid stream) แรงโน้มถ่วงของวัตถุต่าง ๆ ในระบบสุริยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาวเคราะห์ ส่งผลรบกวนต่อธารสะเก็ดดาว เมื่อโลกเดินทางฝ่าเข้าไปในธารสะเก็ดดาว ซึ่งเกิดขึ้นหลายช่วงของปี จะทำให้เห็นดาวตกหลายดวงดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า (เป็นมุมมองในเชิงทัศนมิติ ลักษณะเดียวกับที่เราเห็นรางรถไฟบรรจบกันที่ขอบฟ้า) เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าฝนดาวตก (meteor shower) ในรอบปีมีฝนดาวตกหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะและจำนวนความถี่แตกต่างกันตามแต่องค์ประกอบและความเร็วของสะเก็ดดาว ฝนดาวตกบางกลุ่มอาจมีเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมง แต่ยังก็เรียกว่าฝนดาวตก
ดาวตกจากฝนดาวตกสามารถปรากฏในบริเวณใดก็ได้ทั่วท้องฟ้า แต่เมื่อลากเส้นย้อนไปตามแนวของดาวตก จะไปบรรจบกันที่จุดหนึ่ง เรียกจุดนั้นว่าจุดกระจายฝนดาวตก (radiant) ชี่อฝนดาวตกมักตั้งตามกลุ่มดาวหรือดาวที่อยู่บริเวณจุดกระจายนี้ แสงจันทร์และแสงจากตัวเมืองเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสังเกตดาวตก จึงควรหาสถานที่ที่ฟ้ามืด ยิ่งฟ้ามืดก็จะยิ่งมีโอกาสเห็นดาวตกมากขึ้น
การสังเกตดาวตกด้วยตาเปล่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องมีอุปกรณ์ใด ๆ เพียงแต่ต้องเตรียมตัวรับกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมตามสถานการณ์ ก่อนสังเกตดาวตกต้องรอให้ดวงตาของเราชินกับความมืดเสียก่อนซึ่งใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที นอกจากการสังเกตด้วยตาเปล่า นักดาราศาสตร์ยังใช้กล้องโทรทรรศน์ กล้องสองตา การถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ และการสังเกตด้วยคลื่นวิทยุ แม้ว่าขอบเขตภาพของกล้องโทรทรรศน์และกล้องสองตาจะแคบกว่าการดูด้วยตาเปล่า แต่ก็ช่วยให้มองเห็นดาวตกที่จาง ๆ ได้ และมักใช้หาตำแหน่งที่แม่นยำของจุดกระจาย
ภาพถ่ายดาวตกช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณตำแหน่งที่แม่นยำของมันได้ เลนส์ปกติมีศักยภาพในการจับภาพดาวตกที่สว่างกว่าโชติมาตร 1 ภาพดาวตกดวงเดียวกันจากจุดสังเกตการณ์หลายจุด สามารถใช้คำนวณหาเส้นทางการโคจรของสะเก็ดดาวในอวกาศ การบันทึกภาพดาวตกด้วยกล้องถ่ายวิดีโอก็ใช้ในการศึกษาดาวตกด้วยเช่นกัน แต่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเพิ่มความเข้มของแสง
ควันค้าง (persistent train) คือ ปรากฏการณ์ที่ดูเหมือนควันลอยค้างบนท้องฟ้าตรงจุดที่ดาวตกหายวับไป ศัพท์คำนี้ยังไม่มีการใช้แพร่หลายในภาษาไทย จึงขอเรียกว่าควันค้างตามลักษณะที่ปรากฏไปพลางก่อน ควันค้างเกิดจากการเรืองแสงในบรรยากาศชั้นบน โดยมีดาวตกเป็นตัวการทำให้โมเลกุลในบรรยากาศแตกตัวเป็นไอออน ความเข้มและอายุของควันค้างขึ้นอยู่กับขนาด องค์ประกอบ และความเร็วของดาวตก ลูกไฟซึ่งเกิดจากสะเก็ดดาวขนาดใหญ่มักก่อให้เกิดควันค้างอยู่อย่างนั้นนานหลายนาที ก่อนจะเปลี่ยนรูปร่าง จางลง และสลายตัวไปในที่สุด
ฝนดาวตกในปี 2555
ฝนดาวตกช่วงที่ตกคืนที่มีมากที่สุดเวลาที่เริ่มเห็น
(ประมาณ)
อัตราสูงสุด
ในภาวะอุดมคติ
(ดวง/ชั่วโมง)
อัตราสูงสุด
ในประเทศไทย
(ดวง/ชั่วโมง)
หมายเหตุ
ควอดแดรนต์28 ธ.ค. - 12 ม.ค.3/4 ม.ค.02:00 น.120
(60-200)
20-
พิณ16-25 เม.ย.21/22 เม.ย.22:00 น.1810-15-
อีตาคนแบกหม้อน้ำ19 เม.ย. - 28 พ.ค.4/5 พ.ค.02:00 น.70
(40-85)
20-30แสงจันทร์รบกวน
เดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้12 ก.ค. - 23 ส.ค.28/29/30 ก.ค.21:00 น.1610แสงจันทร์รบกวน
ก่อนตี 2
เพอร์ซิอัส17 ก.ค. - 24 ส.ค.12/13 ส.ค.22:30 น.10040-50แสงจันทร์รบกวน
หลังตี 2
นายพราน2 ต.ค. - 7 พ.ย.20/21/22 ต.ค.22:30 น.2520แสงจันทร์รบกวน
ก่อนเที่ยงคืน
สิงโต6-30 พ.ย.16/17/18 พ.ย.00:30 น.10-2010-15-
คนคู่7-17 ธ.ค.13/14 ธ.ค.20:00 น.12090-100-

หมายเหตุ
  • ภาวะอุดมคติหมายถึงจุดกระจายฝนดาวตกอยู่ที่จุดเหนือศีรษะและท้องฟ้ามืดจนเห็นดาวได้ถึงโชติมาตร +6.5
  • คอลัมน์ "คืนที่มีมากที่สุด" เครื่องหมายทับ (/) ใช้คั่นคืนวันแรกกับเช้ามืดของอีกวันหนึ่ง เช่น 3/4 หมายถึงคืนวันที่ 3 ถึงเช้ามืดวันที่ 4
  • ตัวเลขอัตราตกสูงสุดในประเทศไทยคิดผลจากแสงจันทร์รบกวนแล้ว แต่ยังไม่คิดผลจากมลพิษทางแสง การสังเกตดาวตกในเมืองใหญ่จะมีจำนวนดาวตกลดลงจากตัวเลขในตารางนี้หลายเท่า
  • ดัดแปลงจากข้อมูลฝนดาวตกโดยองค์การอุกกาบาตสากล (International Meteor Organization - IMO) และ Meteor Shower Flux Estimator โดย Peter Jenniskens

ฝนดาวตกควอดแดรนต์ (Quadrantids อักษรย่อ QUA)

ฝนดาวตกควอดแดรนต์เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม-12 มกราคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในช่วงเช้ามืดวันพุธที่ 4 มกราคม 2555 เป็นช่วงครึ่งหลังของข้างขึ้น ดวงจันทร์สว่างค่อนดวงตกลับขอบฟ้าไปตั้งแต่เวลาประมาณตี 2 ซึ่งเป็นเวลาที่จุดกระจายฝนดาวตกเริ่มขึ้นมาที่ขอบฟ้าทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ฝนดาวตกควอดแดรนต์มีชื่อตามกลุ่มดาวควอดแดรนต์ (Quadrans Muralis) ซึ่งเป็นกลุ่มดาวเก่า ปัจจุบันไม่มีแล้ว จุดกระจายดาวตกอยู่บริเวณตรงกลางระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส คนเลี้ยงสัตว์ และมังกร ฝนดาวตกควอดแดรนต์มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 3-4 มกราคม ของทุกปี ประเทศที่เห็นฝนดาวตกกลุ่มนี้ได้ดีที่สุดคือประเทศในละติจูดสูง ๆ ของซีกโลกเหนือ
นักดาราศาสตร์ค้นพบฝนดาวตกควอดแดรนต์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ไม่พบว่าวัตถุใดคือต้นกำเนิด จนกระทั่ง ค.ศ. 2003 เมื่อมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อย 2003 อีเอช 1 (2003 EH1) ซึ่งวงโคจรใกล้เคียงกับดาวตกที่มาจากฝนดาวตกกลุ่มนี้ และยังพบว่ามันอาจเป็นชิ้นส่วนหรือเป็นวัตถุเดียวกับดาวหางซี/1490 วาย 1 (C/1490 Y1) ที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปลาย ค.ศ. 1490
อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติของฝนดาวตกควอดแดรนต์สูงถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 60-200) แต่มีช่วงเวลาสั้น แสดงว่าธารสะเก็ดดาวค่อนข้างแคบมาก ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในวันที่ 4 มกราคม เวลา 14:20 น. จากเวลานี้ คาดว่าพื้นที่ที่สังเกตฝนดาวตกควอดแดรนต์ได้ดีที่สุดคือแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ และด้านตะวันตกสุดของยุโรป ประเทศไทยเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ตี 2 โดยอัตราตกจะต่ำมากในช่วงแรก หลังจากนั้นค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เวลาที่น่าจะเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วง 04:30 - 05:30 น. ภายใต้ฟ้ามืดและไร้เมฆ ใน 1 ชั่วโมงนี้อาจนับได้ราว 20 ดวง

ฝนดาวตกพิณ (Lyrids อักษรย่อ LYR)

ฝนดาวตกพิณเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 16-25 เมษายน เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในคืนวันเสาร์ที่ 21 เมษายน ถึงเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน 2555 ซึ่งตรงกับช่วงจันทร์ดับ
ฝนดาวตกพิณตั้งชื่อตามกลุ่มดาวพิณ (Lyra) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 21-22 เมษายน ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 18 ดวงต่อชั่วโมง (เคยสูงถึง 90 ในช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อ พ.ศ. 2525) ค้นพบเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต้นกำเนิดของฝนดาวตกพิณคือดาวหางแทตเชอร์ (C/1861 G1 Thatcher) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 415 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2404 นักดาราศาสตร์ค้นพบใน 6 ปีต่อมาว่าตำแหน่งที่โลกอยู่ ณ วันที่ 20 เมษายน ของทุกปี เป็นตำแหน่งที่วงโคจรของดาวหางอยู่ห่างจากโลกเพียง 0.002 หน่วยดาราศาสตร์ หลังจากนั้นได้พบหลักฐานในบันทึกของจีน กล่าวถึงฝนดาวตกพิณเมื่อ 687 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในวันที่ 22 เมษายน เวลา 12:30 น. จากเวลานี้ พื้นที่ที่สังเกตได้ดีที่สุดคือด้านตะวันออกของอเมริกาเหนือ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาใต้ และด้านตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในอดีตแสดงว่าเวลาอาจเร็วหรือช้ากว่านั้นได้ โดยอยู่ในช่วง 04:30 - 15:30 น. ประเทศไทยเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ 4 ทุ่ม โดยอัตราตกค่อย ๆ เพิ่มขึ้น คาดว่าเวลาเที่ยงคืนถึงเช้ามืดวันที่ 22 เมษายน น่าจะเห็นดาวตกได้ด้วยอัตรา 10-15 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำ (Eta Aquariids อักษรย่อ ETA)

ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 19 เมษายน - 28 พฤษภาคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในช่วงเช้ามืดวันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2555 ซึ่งตรงกับปลายข้างขึ้น ดวงจันทร์สว่างเกือบเต็มดวง จึงมีแสงจันทร์รบกวน
ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำตั้งชื่อตามดาวอีตา (η) ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 4-5 พฤษภาคม ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 70 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 40-85) ต้นกำเนิดคือดาวหางแฮลลีย์ (1P/Halley) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 76 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2529 ดาวหางแฮลลีย์ทำให้เกิดฝนดาวตกอีกกลุ่มหนึ่งในเดือนตุลาคมด้วย
ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในวันที่ 6 พฤษภาคม เวลาประมาณ 2 น. จากเวลานี้ พื้นที่ที่สังเกตได้ดีที่สุดคือกลางมหาสมุทรแปซิฟิก (แต่มีแสงจันทร์รบกวน) สำหรับประเทศไทย จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลาตี 2 เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วง 04:00 - 05:00 น. หากท้องฟ้าโปร่งอาจนับได้ราว 20-30 ดวง โดยพยายามหันหลังให้ดวงจันทร์ หรือเลือกตำแหน่งที่มีอาคารบ้านเรือนหรือต้นไม้บังทิศที่ดวงจันทร์อยู่ เพื่อไม่ให้แสงจันทร์เข้าตา

ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ (Southern Delta-Aquariids อักษรย่อ SDA)

ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 12 กรกฎาคม - 23 สิงหาคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดใน 2 คืน ได้แก่คืนวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม ถึงเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม 2555 และคืนวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม ถึงเช้ามืดวันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม 2555 ซึ่งตรงกับครึ่งหลังของข้างขึ้น ดวงจันทร์มีส่วนสว่างมากกว่าครึ่งดวง
ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ตั้งชื่อตามดาวเดลตา (δ) ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 29-30 กรกฎาคม ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 16 ดวงต่อชั่วโมง ค้นพบเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต้นกำเนิดคือดาวหางมัคโฮลซ์ (96P/Machholz) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 5 ปี ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2529 เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2550 ปีนี้ดาวหางมัคโฮลซ์จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในกลางเดือนกรกฎาคม ดาวตกจากฝนดาวตกกลุ่มนี้มีความสว่างน้อย เมื่อเทียบกับฝนดาวตกกลุ่มหลักกลุ่มอื่น ๆ
ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกกลุ่มนี้ในวันที่ 30 กรกฎาคม จุดกระจายขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาประมาณ 3 ทุ่ม อัตราตกจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น คาดว่าเวลาตี 2 ถึงก่อนฟ้าสาง (ของทั้ง 2 คืน) น่าจะเห็นดาวตกได้ราว 10 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส (Perseids อักษรย่อ PER)

ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม - 24 สิงหาคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในคืนวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม ถึงเช้ามืดวันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม 2555 ซึ่งเป็นครึ่งหลังของข้างแรม แสงจันทร์เริ่มรบกวนตั้งแต่ประมาณตี 2 แต่ไม่มากนักเนื่องจากดวงจันทร์เป็นเสี้ยว
ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสหรือฝนดาวตกวันแม่ เป็นฝนดาวตกที่มีชื่อเสียงในประเทศตะวันตก โดยเฉพาะในละติจูดสูง ๆ ทางเหนือ ซึ่งจุดกระจายดาวตกจะขึ้นไปอยู่สูงเกือบกลางฟ้าในเวลาเช้ามืด อัตราการเกิดดาวตกสูงถึงกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง และเกิดในฤดูร้อนซึ่งท้องฟ้าโปร่ง แต่การสังเกตฝนดาวตกกลุ่มนี้ในประเทศไทยมักพบอุปสรรคจากเมฆเพราะเป็นฤดูฝน
ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมีต้นกำเนิดมาจากดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) ดาวหางดวงนี้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2535 มีคาบ 130 ปี จุดกระจายฝนดาวตกเพอร์ซิอัสอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างกลุ่มดาวเพอร์ซิอัสกับแคสซิโอเปีย เริ่มเห็นได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 4 ทุ่มครึ่ง แต่ยังมีน้อย จะสังเกตได้ดีหลังเที่ยงคืนและดีที่สุดในช่วงที่จุดกระจายดาวตกอยู่สูงซึ่งตรงกับช่วง 1-2 ชั่วโมงก่อนท้องฟ้าสว่างในเวลาเช้ามืด
ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกเพอร์ซิอัสในช่วงเวลาตั้งแต่ 14 น. ของวันที่ 12 สิงหาคม ถึง 2 น. ของวันที่ 13 สิงหาคม ประเทศไทยเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ 4 ทุ่มครึ่ง โดยอัตราตกค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เมื่อสังเกตตั้งแต่เวลาตี 2 เป็นต้นไปของเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม คาดว่าอัตราตกอยู่ที่ 30-40 ดวงต่อชั่วโมง, เช้ามืดวันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม อัตราตกสูงสุดที่ 40-50 ดวงต่อชั่วโมง, และเช้ามืดวันอังคารที่ 14 สิงหาคม ลดลงไปที่ 30 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกนายพราน (Orionids อักษรย่อ ORI)

ฝนดาวตกนายพรานเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในคืนวันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม ถึงเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2555 และคืนวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม ถึงเช้ามืดวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม 2555 ซึ่งตรงกับข้างขึ้น ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง รบกวนการดูดาวตกก่อนเที่ยงคืน
ฝนดาวตกนายพรานตั้งชื่อตามกลุ่มดาวนายพราน (Orion) มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 25 ดวงต่อชั่วโมง (ช่วง พ.ศ. 2549 - 2552 อัตราตกได้เพิ่มสูงผิดปกติไปอยู่ที่ 40-70 ดวงต่อชั่วโมงติดต่อกัน 2 หรือ 3 วัน) ต้นกำเนิดฝนดาวตกนายพรานคือดาวหางแฮลลีย์ (1P/Halley) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 76 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2529
ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในวันที่ 21 ตุลาคม จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลา 4 ทุ่มครึ่ง เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วง 03:00 - 05:00 น. โดยคาดว่าอัตราตกทั้ง 2 วันในช่วงเวลาดังกล่าวอาจอยู่ที่ 20 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกสิงโต (Leonids อักษรย่อ LEO)

ฝนดาวตกสิงโตเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 6-30 พฤศจิกายน เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในเช้ามืดวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน และเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งตรงกับข้างขึ้นอ่อน ๆ ดวงจันทร์เป็นเสี้ยวอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ จึงไม่รบกวนการดูดาวตก
ฝนดาวตกสิงโตตั้งชื่อตามกลุ่มดาวสิงโต (Leo) มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 17 พฤศจิกายน ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 10-20 ดวงต่อชั่วโมง ต้นกำเนิดฝนดาวตกสิงโตคือดาวหางเทมเพล-ทัตเทิล (55P/Tempel-Tuttle) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 120 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2541 ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกสิงโตมีหลายสาย ทำให้บางปีมีอัตราตกสูงมาก สำหรับปีนี้โลกไม่ได้ผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวที่สำคัญ คาดว่าไม่น่าจะมีอัตราตกสูงเกินกว่าระดับปกติ
ปีนี้โลกจะผ่านระนาบวงโคจรของดาวหางเทมเพล-ทัตเทิลในวันที่ 17 พฤศจิกายน เวลา 16:30 น. จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลาเที่ยงคืนครึ่ง เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วง 03:00 - 05:00 น. ภายใต้ท้องฟ้ามืดและปราศจากเมฆหมอกรบกวน คาดว่าอัตราตกทั้ง 2 วันในช่วงเวลาดังกล่าวจะอยู่ที่ 10-15 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกคนคู่ (Geminids อักษรย่อ GEM)

ฝนดาวตกคนคู่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 7-17 ธันวาคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในคืนวันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม ถึงเช้ามืดวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2555 ซึ่งเป็นคืนเดือนมืดตรงกับจันทร์ดับ ฝนดาวตกคนคู่เกิดในฤดูหนาวที่ท้องฟ้าเปิดเป็นส่วนใหญ่และมีจำนวนมากหลายสิบดวงต่อชั่วโมง หากไม่มีฝนหลงฤดู ปีนี้เป็นปีที่ดีมากปีหนึ่งในการสังเกตฝนดาวตกคนคู่
ฝนดาวตกคนคู่ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวคนคู่ (Gemini) จุดกระจายดาวตกอยู่ใกล้ดาวคาสเตอร์ ตกสูงสุดราววันที่ 13-15 ธันวาคม ของทุกปี ด้วยอัตราตกในภาวะอุดมคติที่ 120 ดวงต่อชั่วโมง ฝนดาวตกคนคู่เกิดจากดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟทอน (3200 Phaethon) ซึ่งคาดว่าเคยเป็นดาวหางมาก่อน
ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในขณะใดขณะหนึ่ง ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม เวลา 14 น. ถึงวันที่ 14 ธันวาคม เวลา 11 น. กราฟอัตราการเกิดดาวตกอยู่ใกล้จุดสูงสุดเป็นเวลานานเกือบ 1 วัน ทำให้สามารถสังเกตฝนดาวตกคนคู่ในอัตราสูงได้เกือบทั่วทุกลองจิจูดบนโลก จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลา 2 ทุ่ม หลังจากนั้นอัตราตกจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น จากการคำนวณคาดว่าน่าจะสูงเกิน 60 ดวงต่อชั่วโมงตั้งแต่เวลา 5 ทุ่ม และสูงที่สุดในช่วง 02:00 - 04:00 น. โดยอัตราตกสูงสุดอยู่ที่ 90-100 ดวงต่อชั่วโมง ภายใต้ท้องฟ้ามืดและปราศจากเมฆหมอกรบกวน หากสังเกตหลังจากนั้น 1 วัน คือในคืนวันศุกร์ถึงเช้ามืดวันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม อัตราตกในช่วงเวลาเดียวกัน (ตี 2 - ตี 4) จะลดลงเหลือราว 30 ดวงต่อชั่วโมง

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เผยวิกฤติน้ำท่วมโลก เกิดจากแกนโลกสลับขั้ว


แผนที่โลกใหม่ หลังปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)
แผนที่โลกใหม่ หลังปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)
แผนที่ประเทศไทยหลังจากปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ.2555)

แผนที่ประเทศไทยหลังจากปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ.2555)


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก moeipit.com

          โลกอาจถึงจุดวิกฤติ เหตุน้ำท่วมโลกปี 2012 อาจเกิดขึ้นจริง เนื่องจากแกนโลกสลับขั้ว โลกจะร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย

          ช่วงนี้ดูเหมือนว่าภัยพิบัติต่าง ๆ จะถาโถมมาสู่โลกอย่างต่อเนื่อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยเรา คงจะเห็นกันแล้วว่า วิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้นนับเป็นมหันตภัยที่ร้ายแรงที่สุดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งทำให้ผู้คนต้องเสียชีวิตและทรัพย์สินอย่างประมาณค่ามิได้ จนหลายคนคงจะคิดว่าใกล้ถึงเวลาที่น้ำจะท่วมโลกในปี 2012 จริง ๆ อย่างที่ทำนายไว้แล้ว!!!

          ทั้งนี้ กลุ่มผู้เชื่อในเรื่อง "วันน้ำท่วมโลก" อ้างอิงข้อมูลวิทยาศาสตร์ว่า ธารน้ำแข็งบริเวณหมู่เกาะกรีนแลนด์ ซึ่งตั้งในมหาสมุทรอาร์กติกทางเหนือกำลังละลาย ด้วยพื้นที่กว่า 2.2 ล้านตารางกิโลเมตร (ตร.กม.) มีน้ำแข็งกว่า 19 ร้อยล้านตัน น้ำแข็งกำลังละลายเป็นน้ำวันละ 1 ล้านตัน โดยจะไหลลงมาสะสมจนทำให้เกิดน้ำท่วมหนักในปี 2012

          ในขณะเดียวกัน คำทำนายจากกลุ่มนักวิจัยอวกาศก็กล่าวเช่นเดียวกันว่า หายนะน้ำท่วมทั่วโลกอาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากองค์การนาซา ได้คำนวณโดยใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เอาไว้ว่า "วันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2012 แกนโลกจะพลิกกลับขั้ว" หมายถึง ขั้วโลกเหนือจะพลิกมาอยู่ขั้วโลกใต้ ช่วงเวลานั้นโลกจะไม่มีพลังสนามแม่เหล็กออกมาป้องกันรังสีต่าง ๆ ทำให้พลังความร้อนสูง หรือ "เปลวสุริยะ" (solar flare) จากดวงอาทิตย์พุ่งตรงมายังโลก ทำให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายฉับพลัน

          ด้าน สุมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตนักวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซา ได้กล่าวถึงวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเอาไว้ว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะมีการเตือนภัยมานานกว่า 10 ปีแล้ว เนื่องจากระหว่างที่แกนโลกเคลื่อนตัวพลิกกลับขั้วจากเหนือไปใต้นั้น ส่งผลให้พลังสนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลง แกนโลกเอียงจาก 23.5 องศาเป็น 24.5 องศา ภาวะแปรปรวนของจักรวาลทำให้โลกร้อนระอุอย่างรวดเร็ว น้ำแข็งจากทั่วโลกละลายเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ยังจะเกิดพายุลมมรสุมและภัยธรรมชาติด้านต่าง ๆ

          อย่างไรก็ตาม ก็มีนักวิทยาศาสตร์ไทยบางกลุ่มที่ไม่ปักใจเชื่อเรื่องน้ำท่วมโลกดังกล่าวเนื่องจากพวกเขาวิเคราะห์ว่า น้ำท่วมประเทศไทยหนักขึ้นทุกปี สาเหตุหลักเกิดจาก

          1. พื้นที่ชายฝั่งทะเลไทยหายไปปีละประมาณ 10 เมตร และพื้นดินเป็นดินอ่อนมีการทรุดตัวอยู่ตลอดเวลา อีก 40 ปีข้างหน้าจะทรุดต่ำลงไปอีกประมาณ 30 เซนติเมตรทำให้น้ำท่วมง่าย

          2. ผลจากภาวะโลกร้อนเมื่อน้ำฝนเพิ่มมากขึ้นการระบายน้ำจึงไม่ทัน ยิ่งไปกว่านั้นพื้นที่ตามแนวชายฝั่งมักจะมีการสร้างตึกสูงหรือสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำไหล ทำให้ไม่มีช่องทางระบายน้ำออก

          ดังนั้น ปกติพื้นที่กรุงเทพฯ รับปริมาณน้ำฝนไหลผ่านได้ไม่เกิน 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ปี 2554 มีน้ำไหลผ่าน 4,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จึงส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วมอย่างหนัก



นายกอร์ดอน ไมเคิล สคัลเลียน


[15 สิงหาคม] แผนที่โลกใหม่ หลังน้ำท่วมโลก เป็นไปได้จริงหรือ? 


          เรื่องที่กลายเป็นประเด็นสาธารณะ และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางที่สุดใน พ.ศ.นี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง "น้ำท่วมโลก" ที่จะกลายเป็น "วันสิ้นโลก" ตามที่มีผู้เคยทำนายทายทักไว้ว่า จะเกิดขึ้นในปี ค.ศ.2012 ผนวกกับในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มนุษย์โลกได้เผชิญกับสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน ๆ ก็ยิ่งทำให้คนตื่นตระหนกกับ "วันสิ้นโลก" มากขึ้นเป็นเท่าตัว ฉะนั้นแล้ว จึงไม่แปลก หากคนจะกลับมาพูดถึงเรื่อง "แผนที่โลกใหม่" (Future Map of the World) ที่เคยมีผู้ทำนายเอาไว้ล่วงหน้า ว่าจะเหลือประเทศใดบ้างหลังผ่านเหตุการณ์ภัยพิบัติของโลก ในปี ค.ศ.2012 ไปแล้ว

          และผู้ที่ทำนายเรื่อง "แผนที่โลกใหม่" ไว้ก็คือ นายกอร์ดอน ไมเคิล สคัลเลียน ชายชาวอเมริกัน ซึ่งเคยเกือบเสียชีวิตไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่กลับฟื้นขึ้นมาได้อย่างปาฏิหาริย์ หลังจากนั้น เขาก็อ้างว่าได้รับพรสวรรค์เรื่องการหยั่งรู้อนาคต และยังเคยทำนายเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้ถูกต้องหลายครั้ง เช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหวในลอสแองเจอลิส แคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ.1992 (พ.ศ.2535), เหตุการณ์แผ่นดินไหวในแลนเดอร์ส (Landers) และ บิ๊กแบร์ (Big Bear) แคลิฟอร์เนีย เมื่อ 17 มกราคม ค.ศ.1994 (พ.ศ.2537) รวมทั้งแผ่นดินไหวที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ.1995 (พ.ศ.2538) เป็นต้น

          สำหรับเรื่อง "น้ำท่วมโลก" นั้น นายกอร์ดอน บอกว่า ตนได้มองเห็นตัวเองอยู่สูงขึ้นไปในอวกาศ แล้วมองกลับลงมาบนโลกเห็นแผนที่ใหม่ของโลก จนเมื่อเวลาผ่านไปอีกหลายปี เขาก็ยังเห็นภาพเดิม ๆ อีก จึงได้สร้างแผนที่โลกใหม่ หรือ Future Map Of The World ขึ้นมา เมื่อปี ค.ศ.1978 (พ.ศ.2521) และจัดพิมพ์ในปี ค.ศ.1982 (พ.ศ.2525) โดยระบุว่า จะเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติใหญ่ ๆ ในโลกระหว่างปี ค.ศ.1998-2012 (พ.ศ.2541-2555) ทั้งแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด รวมไปถึงเหตุการณ์น้ำท่วมโลก จนทำให้หลายประเทศหายไปจากแผนที่โลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะประเทศที่เป็นเกาะอยู่แล้วจะจมน้ำทั้งหมด และมีประชากรหลงเหลือเพียงแค่ 10% เท่านั้น

          และเมื่อพิจารณา "แผนที่โลกใหม่" ของนายกอร์ดอนแล้ว จะเห็นได้ว่า แต่ละทวีปเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดย
ทวีปเอเซีย หลังปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)
ทวีปเอเซีย หลังปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)
ทวีปเอเชีย

          ได้รับผลกระทบหนักที่สุด เพราะอยู่ในแนว "วงแหวนแห่งไฟ" และเขตรอยต่อของเปลือกโลก นายกอร์ดอน ทำนายไว้ว่า จะเกิดน้ำท่วมใหญ่ตั้งแต่ประเทศฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ไล่ขึ้นไปถึงทะเลแบริ่งที่เป็นช่องแคบอยู่ระหว่างรัฐอะแลสกา กับประเทศรัสเซีย ทำให้เกาะของประเทศญี่ปุ่นจมทั้งหมด เหลือเพียง 2-3 เกาะเล็ก ๆ เท่านั้น เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ที่จะถูกน้ำกลืนไปทั้งหมด

          ส่วนไต้หวัน และเกาหลีส่วนใหญ่จะจมหายไปในทะเลด้วย ขณะที่แนวฝั่งของประเทศจีนจะเลื่อนเข้าไปในแผ่นดินอีกหลายร้อยไมล์ ด้านอินโดนีเซียจะเกิดเกาะใหม่ ๆ ขึ้นมา แต่เกาะที่มีอยู่ก่อนหน้าก็จะจมหายไปด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากแผ่นเปลือกโลกที่เคลื่อนตัว ทำให้เกิดการมุดตัว  ยกตัวของแผ่นดิน

          สำหรับประเทศไทย นายกอร์ดอน ทำนายไว้ว่า จะเหลือเพียงแค่ส่วนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน และภาคกลางตอนบนเท่านั้น จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ตาก จะกลายเป็นชายฝั่งทะเล ขณะที่จังหวัดที่ติดกับแม่น้ำโขง คือ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ มุกดาหาร นครพนม หนองคาย จะจมทะเลไปหมด และแม่น้ำโขงจะเปลี่ยนเป็นทะเลไปด้วย

          ขณะที่ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออก ภาคใต้ รวมทั้งมาเลเซีย สิงคโปร์ จะถูกน้ำท่วมจมหายไปจนหมดเช่นกัน
ทวีปออสเตรเลีย หลังปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)
ทวีปออสเตรเลีย หลังปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)
ทวีปออสเตรเลีย

          ประเทศออสเตรเลียจะสูญเสียแผ่นดินไปประมาณ 25% เพราะน้ำท่วมชายฝั่งเกือลหมด และจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นมาที่นอกชายฝั่งที่บริเวณช่องแคบบาสส์เชื่อมกับเกาะทาสเมเนีย ส่วนประเทศนิวซีแลนด์ จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพราะเกิดจากการยกตัวของแผ่นดินที่เป็นผลมาจากการระเบิดของภูเขาไฟ และมีแผ่นดินบางส่วนเชื่อมต่อกับประเทศออสเตรเลียด้วย
ทวีปยุโรป หลังปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)
ทวีปยุโรป หลังปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)
ทวีปยุโรป

          ประเทศฟินแลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์กจะถูกน้ำท่วม เหลือเพียงเกาะเล็ก ๆ น้อย ๆ นับร้อยเกาะ ขณะที่สหราชอาณาจักร ตั้งแต่สกอตแลนด์จนถึงช่องแคบจะจมหายไปในทะเลทั้งหมด เหลือเพียง 2-3 เกาะเล็ก ๆ เท่านั้น

          ประเทศรัสเซียจะแยกตัวออกจากทวีปยุโรป เพราะทะเลสาบแคสเปียน ทะเลดำ ทะเลคารา ทะเลบอสติก จะมารวมเข้าไว้ด้วยกัน กลายเป็นทะเลขนาดใหญ่แห่งใหม่ ถูกแบ่งด้วยเทือกเขาอูราล ยาวไปถึงแม่น้ำเยนิเซในไซบีเรีย ตรงนี้อุณหภูมิจะอบอุ่นขึ้น กลายเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ในอนาคต

          ประเทศบัลแกเรีย และโรมาเนียจะจมอยู่ใต้น้ำ เพราะทะเลดำขยายตัวไปรวมกับทะเลทางตอนเหนือ ประเทศฝรั่งเศสจมน้ำทั้งหมด เหลือแค่เกาะในกรุงปารีส และเกิดทางน้ำใหม่แยกประเทศสวิตเซอร์แลนด์ออกจากประเทศฝรั่งเศส ส่วนประเทศอิตาลี ซึ่งมีพื้นที่ต่ำอยู่แล้วจะจมน้ำทั้งหมด ยกเว้นนครรัฐวาติกันที่อยู่ที่สูงจะปลอดภัย และแผ่นดินสูง ๆ จะกลายเป็นเกาะ เกิดแผ่นดินใหม่ทอดยาวจากเกาะซิซิลิไปจนถึงเกาะซาร์ดิเนีย

          นอกจากนี้ นายกอร์ดอน ยังทำนายด้วยว่า จะเกิดสงครามศาสนาในดินแดนโปแลนด์ เรื่อยไปถึงตุรกี แต่สงครามจะยุติลงด้วยความบริสุทธิ์ของแผ่นดินโดยไฟและน้ำ ขณะที่ตุรกีด้านตะวันตกจะจมอยู่ในน้ำ เกิดแนวชายฝั่งใหม่จากเมืองอีสตันบูลถึงไซปรัส ส่วนใหญ่ของสมรภูมิในสงครามโลกครั้งที่สองจมลงสู่ใต้ทะเล ก่อให้เกิดเกาะเล็ก ๆ ขึ้น
ทวีปแอฟฟริกา หลังปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)
ทวีปแอฟริกา หลังปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)
ทวีปแอฟริกา

          ทวีปแอฟริกาจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยมีแม่น้ำไนล์ซึ่งกว้างกว่าเดิมมากเป็นตัวแบ่งเขต โดยแม่น้ำไนล์นี้ จะวางอยู่ในรูปตัว Y ของกลางทวีป และไหลผ่านเส้นทางใหม่ คือ ไหลจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตรงปากแม่น้ำไนล์ ผ่านประเทศซูดาน และมีต้นกำเนิดแม่น้ำอยู่ที่เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้

          ขณะที่ทะเลแดง ซึ่งอยู่ตอนเหนือของทวีปจะขยายกว้างขึ้น ทำให้กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ และเกาะมาดากัสการ์เกือบทั้งหมดจมลงสู่ทะเล ทะเลสาบวิคทอเรียจะรวมเข้ากับทะเลสาบนยาซาไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดีย

          นอกจากนี้ ยังมีแผ่นดินใหม่เกิดขึ้นในทะเลอาหรับ บริเวณตอนใต้ของประเทศโอมาน และยังมีแผ่นดินขนาดใหญ่เกิดขึ้นบริเวณทางเหนือและตะวันตกของเมืองเคปทาวน์ด้วย


ทวีปอเมริกาเหนือ

          อ่าวฮัดสันในประเทศแคนาดาจะขยายตัวออกกลายเป็นทะเลปิดในประเทศ พื้นดินบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือจะต้องถอยร่นเข้ามาในแผ่นดินอีก 200 ไมล์ เพราะพื้นที่เก่าถูกน้ำท่วมไปจนหมด ส่วนชาวเมืองที่อาศัยแถบบริติชโคลัมเบีย และอะแลสกา จะต้องอพยพมาอยู่ในควิเบก ออนตาริโอ มานิโตบา ซาสแกนเซวัน แอลเบอร์ตา จะกลายเป็นศูนย์กลางผู้ที่รอดพ้นหายนะระหว่างการเปลี่ยนแปลงในตอนต้น

          ส่วนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นที่แรกของโลก โดยแผ่นทวีปอเมริกาเหนือจะเกิดการโก่งตัว เกิดหมู่เกาะแคลิฟอร์เนียขึ้นอีก 150 เกาะ ต่อมาแผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งที่มุดตัวลงไปใต้อีกแผ่นหนึ่ง จะทำให้เกิดแนวโก่งตัวและรอยแยก นำไปสู่อุทกภัย ทำให้ ฝั่งทะเลด้านตะวันตกหดลงไปทางตะวันออกสู่รัฐเนเบรสกา ไวโอมิง และโคโลราโด ส่วนทะเลสาบ เกรทเลค (ประกอบด้วยทะเลสาบสุพิเรีย, ฮูรอน, มิชิแกน, อิรี และออนแตริโอ) และแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์จะเชื่อมต่อเข้ากับแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ไหลลงสู่อ่าว

          ขณะที่ประเทศเม็กซิโก น้ำจะท่วมจากชายฝั่งเข้ามาในแผ่นดิน ทำให้คาบสมุทรแคลิฟอร์เนียกลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะ พื้นที่ส่วนใหญ่ของยูคาทาน พีนิซูลาจะหายไปในทะเล และจะเกิดภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ต่อเนื่องยาวนานถึง 25 ศตวรรษ

          ประเทศในอเมริกากลางและแคริบเบียนจะเกิดอุทกภัย จำนวนเกาะลดลง จะมีเส้นทางน้ำใหม่เกิดขึ้นจากอ่าวฮอนดูรัสไปออกที่เอลซัลวาดอร์ ส่วนคลองปานามาจะกลายเป็นคลองตัน


ทวีปอเมริกาใต้

          เนื่องจากมีหลายประเทศอยู่ในพื้นที่ "วงแหวนแห่งไฟ" ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทวีปอเมริกาใต้มากไม่แพ้ทวีปเอเชีย โดยจะเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดในประเทศเวเนซุเอลา โคลัมเบีย และบราซิล จะเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในลุ่มน้ำอะเมซอนที่ประเทศเปรู และโบลิเวีย กลายเป็นทะเลในภายในทวีป ส่วนประเทศซานวาดอร์ เซาเปาโล ริโอดอร์จาเนโร และบางส่วนของ อุรุกวัย จะจมหายไปในทะเล

          ส่วนเมืองซัลวาดอร์ เซาเปาโล ริโอเดอร์จาเนโร ของประเทศบราซิล และบางส่วนของประเทศอุรุกวัยจะจมหายไปในทะเล ขณะที่ประเทศอาร์เจนตินาจะเกิดทะเลปิดขึ้นในตอนกลางของประเทศ และยังเกิดแผ่นดินขนาดใหญ่ทางตะวันตกของทวีป บริเวณประเทศชิลี รวมทั้งเกิดทะเลปิดขึ้นในบริเวณนั้นอีกแห่งด้วย