วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โทรคมนาคมโลก เล็งออกกฎใหม่ คลิกเข้า "เน็ต" ทุกครั้งต้องจ่ายตังค์!?!


เอ็มไทย : มีรายงานข่าวแจ้งว่า ในช่วงปลายปีนี้ (2555) ประเทศสมาชิกสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ราว 180 ประเทศ (รวมไทยที่เป็นสมาชิกร่วมอยู่ด้วย) เตรียมที่จะมีการลงนามสนธิสัญญาการบริหารเครือข่ายโทรคมนาคมของโลก หรืออินเทอร์เน็ต เทเลคอมมูนิเคชั่น เร็กกูเรชั่น เพื่อแก้ไขกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตใหม่ (Internet Telecommunication Regulation : ITR)

โดยการแก้ไขสนธิสัญญาดังกล่าวได้เสนอให้มีการเรียกเก็บเงินจากผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต กล่าวคือ เมื่อใดที่มีการคลิกเข้าไปดูเนื้อหา ทั้งผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชมด้วย

ทั้งนี้เมื่อข่าวดังกล่าวได้แพร่สะพัดออกไปก็ทำให้มีนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องจากหลายหน่วยงาน ไม่เห็นด้วยกับมาตราการดังกล่าว และเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องทั้ง กสทช.,ไอซีที ที่มีอำนาจลงนามในสนธิสัญญา ออกมาแสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าไทยคิดอย่างไร กับเนื้อหาของสนธิสัญญาดังกล่าว ก่อนที่จะมีการลงนามในช่วงเดือนธันวาคมนี้ เพื่อผลประโยชน์ของคนไทยที่จะได้รับสูงสุด

โดยนางสาวดวงทิพย์ โฉมปรางค์ ผู้บริหาร อินเทอร์เน็ต โซไซตี้ ประเทศไทย (ไอซอก) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิก ที่เป็นองค์กรอิสระซึ่งดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานอินเทอร์เน็ตโลก กล่าวว่า หากกลุ่มโทรคมนาคมโลก เห็นพ้องและตกลงเซ็นต์สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวจริง ก็จะทำให้หลายประเทศรวมทั้งไทยเสียประโยชน์ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสถาบันการศึกษา และนักเรียน-นักศึกษา ก็จะต้องจ่ายค่าบริการจากการคลิกดูเนื้อหาเพิ่มขึ้น

ขณะที่ ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ (เอทีซีไอ) และนายบุญรักษ์ สรัคคานนท์ กรรมการสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ (เอทีซีไอ) กล่าวว่า หากมาตราการดังกล่าวออกมาจริง จะส่งผลกระทบในประเทศไทยเป็นวงกว้างแน่นอน โดยเฉพาะ นโยบายของรัฐบาลในโครงการแท็บเล็ต ป.1  และจะทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยประมาณ 24ล้านคนต้องหยุดชะงักไปโดยปริยาย 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น